ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการปฏิบัติของซิมพ์ซัน
ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองและการละคร
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน นางสาวสุภาพร ศรีสุวรรณ์
สถานศึกษา โรงเรียนตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่รายงาน 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้รายงานมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองและการละคร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองและการละคร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนหลังการเรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองและการละคร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 โรงเรียนโรงเรียนตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 397 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 44 คน ดำเนินการทดลองโดยใช้เวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง ใช้การทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ 1) ชุดการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองและการละคร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80 / 80 จำนวน 8 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองและการละคร จำนวน 1 ชุด เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.77 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.40 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 และแบบวัดความพึงพอใจเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับค่าอำนาจจำแนก (ค่าที) ตั้งแต่ 1.82 ถึง 4.33 และค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความพึงพอใจทั้งฉบับเท่ากับ 0.87
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
E1 / E2 และ t test แบบ dependent
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1) ชุดการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองและการละคร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 82.13/81.08
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองและการละคร
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้ทักษะกระบวนการปฏิบัติของซิมพ์ซันร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มสัมพันธ์ เรื่อง นาฏศิลป์พื้นเมืองและการละคร
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.90