บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการฝึกคิดแบบ 5W1H ประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ
แบบ JIGSAW เรื่อง สุโขทัยรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นางละออง บุตรกลัด
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านโพรงจระเข้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม
การฝึกคิดแบบ 5W1H ประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW เรื่อง สุโขทัยรำลึก
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการฝึกคิดแบบ 5W1H ประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ
แบบ JIGSAW เรื่อง สุโขทัยรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการฝึกคิดแบบ 5W1H ประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW เรื่อง สุโขทัยรำลึก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 4) พัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย
1) ชุดกิจกรรมการฝึกคิดแบบ 5W1H ประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW เรื่อง สุโขทัยรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบ การใช้ชุดกิจกรรมการฝึกคิดแบบ 5W1H ประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW เรื่อง สุโขทัยรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 แผน เวลา 20 ชั่วโมง (ชุดกิจกรรมการฝึกคิด จำนวน 5 เล่ม เล่มละ 2 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง)
3) แบบทดสอบหลังการใช้ชุดกิจกรรมการฝึกคิดแบบ 5W1H ประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW เรื่อง สุโขทัยรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือก ตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 5 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก 1 ฉบับ จำนวน 40 ข้อ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้ชุดกิจกรรมการฝึกคิดแบบ 5W1H ประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW เรื่อง สุโขทัยรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) ชนิด 5 ระดับ
จำนวน 15 ข้อ 6) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale) ชนิด 3 ระดับ จำนวน 4 ข้อ
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการฝึกคิดแบบ 5W1H ประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW เรื่อง สุโขทัยรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 มีค่า 82.76/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์และเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัยก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.25 และ 33.00 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและ
หลังเรียน พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 2
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการฝึกคิดแบบ 5W1H ประกอบการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW เรื่องสุโขทัยรำลึก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40, =0.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจทุกด้านในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.47, =0.54) รองลงมาได้แก่ ด้านผลผลิต ( =4.43, =0.51) และด้านกระบวนการ ( =4.31, =0.59) ตามลำดับซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
4. พฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW ของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ( =2.98, =0.13) เมื่อพิจารณาเป็นรายแผนการจัดการเรียนรู้พบว่านักเรียนมีพฤติกรรม
การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ JIGSAW ทุกแผนการจัดการเรียนรู้ในระดับดี ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อ 4
กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้สำเร็จลุล่วงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี ด้วยความช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ตลอดจนแก้ไข ปรับปรุง จนผลงานสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพจาก นางสุจิรา ณ พัทลุง ศึกษานิเทศก์วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 รองศาสตราจารย์ ดร.ปริศวร์ ยิ้นเสน คณบดีและอาจารย์ประจำคณะ
มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นางวันเพ็ญ ชูโชติ ตำแหน่งผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดมังคลาราม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 นางจุติมา พรหมศร ตำแหน่งครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ รายวิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนวัดท่ายาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 นายบุญเหลือ ชายภักตร์ ตำแหน่งครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียน
บ้านห้วยม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูง
ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านโพรงจระเข้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ที่ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยเป็นอย่างดี
ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยม่วง และโรงเรียนบ้านทุ่งหนองแห้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ตรัง เขต 1 ที่ให้ความร่วมมือในการทดลองใช้เครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้เป็นอย่างดี
ขอขอบคุณ ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ที่คอยให้กำลังใจในการวิจัยด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลืออีกหลายท่าน ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถกล่าวนามในที่นี้ได้หมด จึงขอขอบคุณ ทุกท่านเหล่านั้นไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากการทำวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาคุณบิดา มารดา บูรพาจารย์ที่เคยอบรมสั่งสอน รวมทั้งผู้มีพระคุณทุกท่าน
ละออง บุตรกลัด