ชื่อผลงาน รายงานการใช้ชุดการฝึกพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา นางสุพรรษา ธรรมเจริญ
หน่วยงาน โรงเรียนวัดผาสุกาวาส (พิศิษฎ์พิทยา) อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการใช้ชุดการฝึกพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดการฝึกพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ที่เรียนด้วยชุดการฝึกพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สูงขึ้น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดการฝึกพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดผาสุกาวาส (พิศิษฎ์พิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเด็กปกติ ไม่นับรวมกลุ่มเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่
ชุดการฝึกพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 โรงเรียนวัดผาสุกาวาส(พิศิษฎ์พิทยา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จำนวน 5 ชุด จำนวน 21 แผน ใช้เวลาแผนละ 1 ชั่วโมง รวม 21 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจ
ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการฝึกพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะ (E1/E2) และค่า t (t-test)
ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า ชุดการฝึกพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ เท่ากับ 82.95/83.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนด้วยชุดการฝึกพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และความพึงพอใจของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ที่มีต่อชุดการฝึกพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ย (X-bar) รวมเท่ากับ 4.57 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
เท่ากับ .49 แสดงว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด