ผู้วิจัย นางสาวคณิต เลขตระโก
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านหนองด้วงวังประทุม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและการบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
2. เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองด้วงวังประทุม อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 3 ชนิด ได้แก่ 1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 เล่ม รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง 2. แผนการจัดการเรียนรู้
เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 แผน รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก รวมทั้งสิ้น 30 ข้อ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test แบบ dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์มีค่าเท่ากับ 83.06/85.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 75/75
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน
และการบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.79 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะเรื่องเศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 79
3. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน และการบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05