ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู
สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนสทิงพระวิทยา
ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน นางสาวสุคนธ์ กำเหนิดดี ตำแหน่งรองผู้อำนวยการโรงเรียนสทิงพระวิทยา
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2560
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนสทิงพระวิทยา ปีการศึกษา 2560 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงาน และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยประเมินจากแบบสอบถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น และประเมินจากแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ประชากรที่เป็นคณะกรรมการนิเทศภายใน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 10 คน ครู ปีการศึกษา 2560 จำนวน 54 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 274 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 274
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ทุกฉบับ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.95 0.99 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2559-2560 จำนวน 2 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทของโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนสทิงพระวิทยา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x- = 4.28, S.D. = 0.55) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.25, σ = 0.34) อยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนสทิงพระวิทยา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.04, σ = 0.58) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าค่าเฉลี่ย (μ = 4.58, σ = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการโครงการและด้านผู้สนับสนุนโครงการ มีค่าค่าเฉลี่ย (μ = 3.96, σ = 0.77) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความเพียงพอของงบประมาณ (μ = 3.83, σ = 0.56) และด้านความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ (μ = 3.83, σ = 0.54) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนสทิงพระวิทยา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 3.97, = 0.51) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x-= 4.32, S.D. = 0.52) อยู่ในระดับ มาก เช่นกัน โดยได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียน สทิงพระวิทยา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 3.88, σ = 0.64) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติ มีค่าค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ = 4.02, σ = 0.76) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านการให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ มีค่าค่าเฉลี่ย (μ = 4.00, σ = 0.76) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการประเมินการนิเทศภายใน (μ = 3.69, σ = 0.59) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตโครงการเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนสทิงพระวิทยา ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและคณะกรรมการนิเทศภายใน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x- = 4.15, S.D. = 0.63) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ส่วนคณะกรรมการนิเทศภายในมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.21, σ = 0.53) อยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 สรุปผลการประเมินสมรรถนะผู้เรียนโรงเรียนสทิงพระวิทยา ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี-ดีมาก ร้อยละ 90.49 ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับดี-ดีมาก ร้อยละ 91.54 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 คะแนนเฉลี่ย GPA ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 โรงเรียนสทิงพระวิทยา ปีการศึกษา 2559-2560 พบว่า โดยภาพรวม ปีการศึกษา 2559 มีคะแนนเฉลี่ย GPA เท่ากับ 2.30 เมื่อพิจารณาแยกเป็นระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีคะแนนเฉลี่ย GPA เท่ากับ 2.09 และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีคะแนนเฉลี่ย GPA เท่ากับ 2.50 และโดยภาพรวม ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ย GPA เท่ากับ 2.49 เมื่อพิจารณาแยกเป็นระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีคะแนนเฉลี่ย GPA เท่ากับ 2.41 และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีคะแนนเฉลี่ย GPA เท่ากับ 2.57
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนสทิงพระวิทยา ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (x- = 3.85, S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน โรงเรียนสทิงพระวิทยา ปีการศึกษา 2560 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
 
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
โรงเรียนควรนำผลสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการนิเทศภายใน 5 ขั้นตอนที่เป็นจุดเด่นของโครงการเพื่อให้หน่วยงานทางการศึกษาอื่นนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการนิเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ควรจัดให้มีโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพนักเรียน ด้วยกระบวนการนิเทศภายในเป็นโครงการต่อเนื่องและต้องดำเนินการทุกปี โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การสร้างความรู้ความเข้าใจ การปฏิบัติการนิเทศ การสร้างขวัญกำลังใจ และการประเมินผล
ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนและเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการ หรือการวิจัยครั้งต่อไป
ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับหน่วยงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
2.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ในลักษณะอื่น ๆ