การศึกษารูปแบบกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่องานประกันคุณภาพภายใน แบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนเพชรละครวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาผลการประเมินห้องเรียนคุณภาพโรงเรียนเพชรละครวิทยา ทั้ง 2 ระดับ โดยตนเอง ศึกษานิเทศก์ และผู้บริหารสถานศึกษา 2) สังเคราะห์รูปแบบกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่องานประกันคุณภาพภายในโดยกระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ ของโรงเรียนเพชรละครวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 40 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่องานประกันคุณภาพภายในโดยกระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนเพชรละครวิทยา กลยุทธ์ในการพัฒนา ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการและ การนิเทศภายใน วิธีดำเนินการรายงาน โดยใช้หลักการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) จำนวน 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วยการกำหนดมาตรฐาน (Standard) การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) การสะท้อน (Reflection) กลุ่มผู้ร่วมรายงาน (Research Participants) จำนวน 3 คน ประกอบด้วย ผู้รายงาน ครูหัวหน้าช่วงชั้นที่ 2 จำนวน 1 คน ครูหัวหน้าช่วงชั้นที่ 3 จำนวน 1 คน กลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ได้แก่ ครูโรงเรียน เพชรละครวิทยา จำนวน 43 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 16 คน ประกอบด้วย 1) ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 จำนวน 1 คน ทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้การอบรม ปฏิบัติการนิเทศติดตาม สะท้อนผลกลยุทธ์ และประเมินผลการพัฒนา 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ทำหน้าที่สะท้อนผลการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน จำนวน 1 ชุด ได้แก่ คู่มือและแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ประเมินกลยุทธ์ในการพัฒนา จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบสังเกตแบบมีส่วนร่วม จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบบันทึกกิจกรรม จำนวน 1 ฉบับ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงบรรยาย
ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่า
1. ข้อมูลเชิงปริมาณ
1.1 ผลการประเมินห้องเรียนคุณภาพ ของครูผู้สอนชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเพชรละครวิยา จากการประเมินตนเอง ประเมินโดยศึกษานิเทศก์ และประเมินโดยผู้บริหาร โดยใช้เกณฑ์การผ่านร้อยละ 80 พบว่า ห้องเรียนทุกห้องที่ถูกประเมินตามตัวชี้วัดสามารถผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ได้ทุกห้องเรียนคิดเป็นร้อยละ 100
1.2 การผลประเมินคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย) หลังการดำเนินการกับการใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ ปี 2560 พบว่า หลังการใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ มีผลการประเมินคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย) ปีการศึกษา 2560 ผลสำเร็จผ่านเกณฑ์ร้อยละที่ตั้งไว้ จำนวน 15 มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 100
1.3 สังเคราะห์รูปแบบกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการงานประกันคุณภาพภายในโดยชักระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนเพชรละครวิทยา
SPDCA ของโรงเรียนเพชรละครวิทยาประกอบด้วย
1. มาตรฐาน (Standard) คือ การกำหนดเป็นการล่วงหน้าไว้ให้กับสิ่ง 2 สิ่งต่อไปนี้ เพื่อให้มีผลในทางนำไปปฏิบัติมาตรฐานที่เกิดจากข้อตกลงหรือพันธะร่วมที่ยอมรับระหว่างครูผู้สอน จะเป็นคุณสมบัติทางกายภาพของผลผลิตนั้นๆ หรือบริการนั้นๆ มาตรฐานอย่างนี้เปลี่ยนแปลงยากต้องใช้จนกว่าจะมีการยกเลิกหรือกำหนดขึ้นใหม่ทดแทน มาตรฐานที่เกิดจากเกณฑ์เฉลี่ยสมรรถนะของครูผู้สอน/ผู้ปฏิบัติงาน หรือเกิดจากข้อกำหนดด้านวิธีการ หรือการทำงานที่มีรูปแบบแน่นอน มาตรฐานประเภทนี้เปลี่ยนแปลงได้เสมอเมื่อสถานการณ์หรือปัจจัยกระทบเปลี่ยนแปลงมาตรฐาน ที่ดีต้องเป็นมาตรฐานที่ก้าวหน้า ย้ำการพัฒนา/ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเท่านั้น
2. ขั้นตอนการวางแผน (Plan) การวางแผนที่ดีช่วยให้สามารถคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้น ในอนาคต ช่วยลดความสูญเสียต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งในด้านแรงงาน วัตถุดิบ ชั่วโมงการทำงาน เงิน เวลา ฯลฯ และช่วยให้รับรู้สภาพปัจจุบันพร้อมกับกำหนดสภาพที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต ด้วยการผสานประสบการณ์ ความรู้ และทักษะอย่างลงตัว การวางแผนที่ดีสามารถทำให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้ ควรมีลักษณะ ดังนี้ ครอบคลุมถึงการกำหนดกรอบหัวข้อที่ต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงการพัฒนาสิ่งใหม่ สามารถแสดงถึงการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน พร้อมสู่การพิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลใดบ้างเพื่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนั้นโดยระบุวิธีการเก็บข้อมูลให้ชัดเจน วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ และกำหนดทางเลือกในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
3. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Do) ขั้นตอนการปฏิบัติเป็นการลงมือปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ตามทางเลือกที่ได้กำหนดไว้ในขั้นตอนการวางแผน ในขั้นนี้ต้องตรวจสอบระหว่างการปฏิบัติด้วยว่า ได้ดำเนินไปในทิศทางที่ตั้งใจหรือไม่ พร้อมกับสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบด้วย ไม่ควรปล่อยให้ถึงวินาทีสุดท้ายเพื่อดูความคืบหน้าที่เกิดขึ้น หากเป็นการปรับปรุงในหน่วยงานผู้บริหารย่อมต้องการทราบความคืบหน้าอย่างแน่นอน เพื่อจะได้มั่นใจว่าโครงการปรับปรุงเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด
4. ขั้นตอนการตรวจสอบและประเมินผล (Check) การตรวจสอบและการประเมินผล เป็นขั้นตอนที่ทำให้เราทราบว่าการปฏิบัติในขั้นที่สองสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ สิ่งสำคัญก็คือ ต้องรู้ว่าจะตรวจสอบอะไรบ้าง และบ่อยแค่ไหน ข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบจะเป็นประโยชน์สำหรับขั้นตอนถัดไป กรอบและแนวทางการตรวจสอบและประเมินผล สรุปได้ดังนี้ 1) ตรวจสอบและประเมินผลขั้นตอนการดำเนินงาน ได้แก่ ขั้นการศึกษาข้อมูล มีการศึกษาข้อมูลได้ครบถ้วน ขั้นการเตรียมการ การเตรียมงานตามแผนงานมีความพร้อมหรือไม่ ขั้นดำเนินงาน มีบุคลากรและทรัพยากรหรือไม่ และขั้นตอนการประเมิน มีเครื่องมือและขั้นตอน การประเมินที่เหมาะสม 2) ตรวจสอบประเมินผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น DELTA PRINCIPLE คือเกณฑ์การประเมิน 3) ตรวจสอบและประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากข้อมูลการรับบริการหรือการให้คำแนะนำจากผู้รับบริการโดยตรง และ 4) ตรวจสอบและประเมินคุณภาพทั้งองค์กร ได้แก่ บุคลากรมีคุณสมบัติ เหมาะสมกับงานหรือไม่ เพียงใด วัสดุอุปกรณ์สำนักงานหรือเครื่องใช้ว่ามีขีดความสามารถที่เหมาะสมและสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพเพียงใด ระบบทำงาน เช่น ระบบการให้บริการระบบการสื่อสารภายในองค์กร มีความเหมาะสมมากพอกับการบรรลุเป้าหมายคุณภาพหรือไม่ ระบบการบริหารงาน ประกอบด้วย โครงสร้าง องค์กร การบริหารด้าน การผลิต และกำหนดเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร ความต้องการของผู้รับบริการเป็นอย่างไรงบประมาณ ที่ใช้ลงทุนมีความจำเป็นและเพียงพอกับการสร้างคุณภาพหรือไม่ และทัศนคติของบุคลากร มีความกระตือรือร้นต่อการทำงาน สามารถสร้างงานที่มีคุณภาพหรือไม่ อย่างไร เมื่อดำเนินงานตรวจสอบและประเมินคุณภาพแล้วควรมีการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลต่อฝ่ายบริหาร เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขต่อไป
5. ขั้นตอนการปรับปรุงและพัฒนา (ACT) ขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมจะพิจารณาผลที่ได้จากการตรวจสอบ ซึ่งมีอยู่ 2 กรณี
กรณีที่ 1 ผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ ก็ให้นำแนวทางหรือกระบวนการปฏิบัตินั้นมาจัดทำให้เป็นมาตรฐานพร้อมทั้งหาวิธีการที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งอาจจะหมายถึงสามารถบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่าเดิมหรือเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเดิมหรือทำให้คุณภาพดียิ่งขึ้นก็ได้
กรณีที่ 2 ผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ ควรนำข้อมูลที่รวบรวมไว้มาวิเคราะห์และพิจารณาว่าควรจะดำเนินการอย่างไร ต่อไปนี้มองหาทางเลือกใหม่ที่น่าจะเป็นไปได้ ใช้ความพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม ขอความช่วยเหลือจากผู้รู้ และเปลี่ยนเป้าหมายใหม่
1.5 ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อการงานประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นหญิงมากที่สุด (ร้อยละ 53.49) เป็นชาย (ร้อยละ 46.51 ) อายุอยู่ระหว่าง 31 40 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 44.19 ) รองลงมา คือ อายุ 41 50 ปี (ร้อยละ 27.91) ตามลำดับ อายุราชการน้อยกว่า 11-20 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 37.21) รองลงมา คือ อายุราชการน้อยกว่า 11 ปี (ร้อยละ 30.23) ตามลำดับ วุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี มากที่สุด ( ร้อยละ 53.49 ) รองลงมาวุฒิปริญญาโท (ร้อยละ 41.86) ตามลำดับ ประสบการณ์ในการทำงานประกัน 5-10 ปี มากที่สุด (ร้อยละ 41.86) รองลงมา 11 15 ปี (ร้อยละ 30.23) ตามลำดับ ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อ การงานประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ โดยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67,S.D. = 0.67) โดยครูผู้สอนมีความพึงพอใจใกล้เคียงกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายเรื่อง พบว่า การนำกระบวนการกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อ การงานประกันคุณภาพภายในโดยใช้กระบวนการตรวจสอบคุณภาพแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base)กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพมาใช้ในโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80,S.D. = 0.41) รองลงมา การนำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียน( = 4.70,S.D. = 0.57) และมีการตรวจสอบ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง ( = 4.65,S.D. = 1.59) ตามลำดับ โดยครูผู้สอนมีความพึงพอใจใกล้เคียงกัน
2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการรายงาน พบว่า กลยุทธ์ในการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน แบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ ในวงรอบที่ 1 ได้แก่ การอบรมปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน พบว่า การอบรมปฏิบัติการ ประกอบด้วยกิจกรรม การเตรียมการอบรม การดำเนินการอบรม และการประเมินผลการอบรม โดยภาพรวมและ ทุกกิจกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และการนิเทศภายใน ประกอบด้วย กิจกรรมการ วางแผนการนิเทศ การดำเนินการนิเทศ และการประเมินผลการนิเทศโดยภาพรวมและทุกกิจกรรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และในวงรอบที่ 2 มีการปรับปรุงกิจกรรมและกลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การนิเทศภายใน ประกอบด้วยกิจกรรมการดำเนินการนิเทศและการประเมินผลการนิเทศ โดยผลการดำเนินงาน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
ผลการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน แบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ ในวงรอบที่ 1 พบว่า ระดับปฏิบัติงานและคุณภาพของการดำเนินงานจัดโครงสร้างองค์กรในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และการส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงานอยู่ในระดับน้อย ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมและทั้ง 5 ขั้นตอน คือ การกำหนดมาตรฐาน การวางแผนการปฏิบัติงาน การดำเนินการตามแผน การตรวจสอบประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงานอยู่ในระดับปานกลาง และในวงรอบที่ 2 พบว่า มีการจัดโครงสร้างองค์กรในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ และมีการส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยการนำผลการประเมินมาปรับปรุงอยู่ในระดับปานกลางและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมและทั้ง 5 ขั้นตอน อยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการภายในแบบอิงมาตรฐาน (SPDCA : Standard Base) กับคู่มือห้องเรียนคุณภาพ โดยใช้กลยุทธ์การอบรมปฏิบัติการและการนิเทศภายในครั้งนี้ กลยุทธ์ที่นำมาใช้มีความเหมาะสมสำหรับใช้ในการพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน แต่การนำไปใช้ควรให้ความสำคัญกับ การกำหนดมาตรฐาน การดำเนินงาน ตามแผนปฏิบัติการ และการนิเทศตามแผนการนิเทศอย่างต่อเนื่อง โดยครูผู้นิเทศควรเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเกี่ยวกับงานที่นิเทศ