บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมประกอบการเรียนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาสมรรถภาพ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมประกอบการเรียนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาสมรรถภาพ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาสมรรถภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโปะหมอ(พรหมเทพราษฎร์บำรุง) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมนักเรียน 67 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนบ้านโปะหมอ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน 20 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนเรื่องสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาสมรรถภาพ จำนวน 7 ชุดกิจกรรม 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาสมรรถภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาสมรรถภาพ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 ที่มีต่อชุดกิจกรรมประกอบการเรียนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง
สร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาสมรรถภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 15 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ชุดกิจกรรมประกอบการเรียนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาสมรรถภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 83.45/84.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมประกอบการเรียนด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาสมรรถภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมประกอบการเรียน เรื่อง สร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาสมรรถภาพด้วยวิธีสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD อยู่ในระดับมาก