บทคัดย่อ
การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ใช้กระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ดังกล่าวร้อยละ 80 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสวนอ้อย อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 14 แผน เวลา 28 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ (4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ ( E1 / E2 ) เท่ากับ 87.66/82.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ มีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 82.50 และนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 คิดเป็นร้อยละ 87.50 สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 80)
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 81.66 และนักเรียนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 87.50 สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 80 )
4. นักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด ( บทคัดย่อ
การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ใช้กระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ดังกล่าวร้อยละ 80 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสวนอ้อย อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 14 แผน เวลา 28 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ (4) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ ( E1 / E2 ) เท่ากับ 87.66/82.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ มีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 82.50 และนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 คิดเป็นร้อยละ 87.50 สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 80)
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 81.66 และนักเรียนผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 87.50 สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 80 )
4. นักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น เรื่อง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับมากที่สุด ( x̄= 4.55, S.D.= 0.49 )