ผลการใช้รูปแบบการสอนPEACE MODEL เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Effect of PEACE Instructional Model Usage to Enhance Creative Problem Solving Ability and Scientific Innovation for Third Grade Students
พีชญาณ์ พานะกิจ*
PHEECHAYA PHANAKIT
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน PEACE Model ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 29 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนวัดราษฎร์รังสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสาคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการสอน PEACE Model คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบบประเมินนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าร้อยละ
ผลการวิจัย พบว่า หลังจากนักเรียนได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอน PEACE Model นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ( =4.14 , S.D.= 0.70 ), ( = 2.45, S.D= 0.50 ) และมีคะแนนนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ( = 50.21, S.D= 3.68) ร้อยละ 83.68 อยู่ในระดับดี
Abstract
The purpose of this research was to study the effect of PEACE Instructional Model Usage to enhance creative problem solving ability. The sample comprised 29 of Third grade students in class 3/1 during the first semester of the academic year 2016 at Watratrangsan School, under Samutsakhon Primary Educational Service Area Office. Research instruments consisted of PEACE Instructional Model, handbook for the model usage, lesson plans, creative problem solving ability test, and scientific innovation evaluation form. Data were analyzed by using descriptive statistics, including mean, standard deviation and percentage.
The research results revealed that after using the PEACE Instructional model, the students creative problem solving ability were higher than before using the instruction model at ( =4.14 , S.D.=0.70 ),( = 2.45, S.D= 0.50 )and the students gained scores for scientific innovation evaluation at ( = 50.21, S.D= 3.68) 83.68%, which was in good level.
*ครูวิทยฐานะชำนาญการ ดร. โรงเรียนวัดราษฎร์รังสรรค์ สพป.สมุทรสาคร
Keywords: Creative Problem Solving Ability / Scientific Innovation / PEACE MODEL