ชื่อรายงาน รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี โดยใช้ใบงานประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการประดิษฐ์ของเล่น
จากวัสดุธรรมชาติและเศษวัสดุเหลือใช้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเกาะ
หมาก
ผู้รายงาน นายสนั่น แพทย์หมัด
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านเกาะหมาก
ปีที่ทำการรายงาน ปีการศึกษา 2560
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
( 1 ) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ( งานประดิษฐ์ ) โดยใช้ใบงานประกอบกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติและเศษวัสดุเหลือใช้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเกาะหมาก
( 2 ) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพใบงานประกอบกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติและเศษวัสดุเหลือใช้ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด 80 / 80
( 3 ) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ใบงานประกอบกิจกรรมการเรียนรู้
( 4 ) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้ใบงานประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติและเศษวัสดุเหลือใช้
ประชากรในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุงเขต 2
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยใบงานกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ( งานประดิษฐ์ ) โดยใช้ใบงานประกอบกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติและเศษวัสดุเหลือใช้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเกาะหมาก จำนวน 2 เล่ม แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 20ข้อ แบบประเมินผลทักษะในการปฏิบัติงาน จำนวน10 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ใบงานเรื่องการประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติและเศษวัสดุเหลือใช้ จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่าใบงานประกอบกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติและเศษวัสดุเหลือใช้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.62 / 92.33 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังใช้ใบงานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนความคิดเห็นของนักเรียนหลังใช้ใบงานนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดคือ x̄ = 4.51 S.D = 0.45 แสดงให้เห็นว่าใบงานเป็นใบงานที่ดีมีประสิทธิภาพ นักเรียนได้รับความรู้และสามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนได้ผลดียิ่ง