บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม
เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นางสาวสายพิน สังข์แย้ม
ปีการศึกษา 2560
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในกลุ่มโรงเรียนแม่วงก์เขาชนกัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 210 คน และ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไร่ไทรทองพระยาลับแล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง คือ เป็นนักเรียนที่ผู้รายงานปฏิบัติหน้าที่ในการสอน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยแบ่งเป็น 4 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรียนรู้เรื่องสาร เล่มที่ 2 วิธีการแยกสาร เล่มที่ 3 รู้จักสารรอบตัว เล่มที่ 4 สารมีการเปลี่ยนแปลง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน - หลังเรียน และ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชั้นผสม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม ใช้การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของกระบวนการ และหาประสิทธิภาพ
ของผลลัพธ์ โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ของสูตร E1/E2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เกิดขึ้นจากการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ขั้นผสม ใช้การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการทดสอบค่าสถิติ Wilcoxon ความพึงพอใจของนักเรียน
ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม ใช้การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และแปลความหมายตามเกณฑ์
ผลการศึกษามีดังนี้
1. ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม เรื่อง สารในชีวิต
ประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.41/85.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเป็นไปตามสมมติฐาน
2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.69, S.D = 0.51) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน