ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
เผยแพร่ผลงานวิชาการ

คำแนะนำการใช้เอกสารประกอบการเรียน

วิชา ง30297 งานเชื่อมไฟฟ้าเบื้องต้น (เพิ่มเติม)

เล่มที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเชื่อมไฟฟ้า

เวลา 4 ชั่วโมง

1. ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้ให้เข้าใจ

2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน

3. ศึกษาใบความรู้ตามลำดับ

4. ทำกิจกรรมตามลำดับ

5. เขียนคำตอบลงในกระดาษที่จัดเตรียมไว้ให้ ห้ามเขียนข้อความใด ๆ

ในเอกสาร

6. ตรวจคำตอบจากเฉลยเพื่อทราบผลการเรียนรู้

7. ถ้าตอบผิดให้กลับไปศึกษาเนื้อเรื่องใหม่อีกครั้ง

8. ทำแบบทดสอบหลังเรียน

9. ตรวจคำตอบแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนจากเฉลย

10. ตรวจคำตอบจากเฉลยกิจกรรมในภาคผนวก

11. สรุปผลคะแนนที่ได้ เพื่อทราบผลการเรียนและการพัฒนา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเชื่อมไฟฟ้า

จุดประสงค์การเรียนรู้

เมื่อเรียนจบบทเรียนนี้แล้ว นักเรียนสามารถ

1. อธิบายถึงบทบาทและความสำคัญของงานเชื่อมไฟฟ้า ที่มีต่อวงการ

อุตสาหกรรมได้

2. บอกหลักการและความหมายของการเชื่อมไฟฟ้าได้

3. บอกชนิดและหน้าที่ของเครื่องมืออุปกรณ์ในงานเชื่อมไฟฟ้าได้

4. อธิบายวิธีการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ตลอดจนการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี

5. อธิบายหลักการทำงานและจำแนกประเภทของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าได้

6. อธิบายหน้าที่และส่วนประกอบของลวดเชื่อมไฟแบบหุ้มฟลั๊กซ์ได้

7. บอกถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุขณะปฏิบัติงานเชื่อมไฟฟ้าและ

วิธีป้องกันได้

8. อธิบายถึงการปฏิบัติงานเชื่อมไฟฟ้า ด้วยความปลอดภัยได้

แบบทดสอบก่อนเรียน

เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเชื่อมไฟฟ้า

คำชี้แจง

1. ข้อสอบมีจำนวน 10 ข้อ ใช้เวลา 10 นาที (10 คะแนน)

2. ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดแล้วทำเครื่องหมาย X

ลงในกระดาษคำตอบ

1. อุตสาหกรรมแขนงใดที่ต้องใช้กระบวนการเชื่อมไฟฟ้าเข้าไปช่วยในการทำงาน

ก. อุตสาหกรรมรถยนต์

ข. อุตสาหกรรมต่อเรือ

ค. อุตสาหกรรมงานโครงสร้างต่าง ๆ

ง. ถูกทุกข้อ

2. ส่วนใดของลวดเชื่อมที่ทำหน้าที่เติมลงในบ่อหลอมละลาย

ก. สารพอกหุ้มหรือฟลั๊กซ์

ข. แกนลวด

ค. โลหะงาน

ง. สแลก

3. ในการปฏิบัติงานเชื่อมไฟฟ้า สิ่งใดที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก

ก. เครื่องมืออุปกรณ์

ข. การเตรียมชิ้นงาน

ค. วัสดุงานที่ใช้เชื่อม

ง. ความปลอดภัยจากการเชื่อม

4. การปฏิบัติงานเชื่อมไฟฟ้าในบริเวณที่เปียกชื้นจะเกิดอันตรายในด้านใด

ก. ด้านแสง

ข. ด้านเสียง

ค. ด้านกระแสไฟฟ้า

ง. ด้านความร้อน

5. ในการเชื่อมไฟฟ้าสามารถมองดูการหลอมละลายได้จาก

ก. ชำเลืองมองดูด้วยตาเปล่าได้

ข. ซื้อแว่นตากันแดดมาใส่ดูได้ชัดเจนกว่า

ค. ใช้แว่นตาเชื่อมแก๊สแทนได้ให้แสงสว่างดี

ง. ใช้แว่นตาหรือหน้ากากที่กำหนดความเข้มไว้โดยเฉพาะ

6. ข้อใดกล่าวถึงความหมายของการเชื่อมไฟฟ้าได้ถูกต้องที่สุด

ก. เป็นการประสานโลหะให้ติดกัน

ข. การใช้ความร้อนจากกระแสไฟฟ้า

ค. การต่อโลหะให้ติดกันโดยใช้ความร้อนจนเหล็กหลอมละลาย

ง. การซ่อมแซมชิ้นงานและการประกอบชิ้นงาน

7. ข้อใดคือองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดการอาร์คขึ้น

ก. ชิ้นงาน

ข. ลวดเชื่อมไฟฟ้า

ค. กระแสไฟฟ้า

ง. ขั้วบวก

8. เครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

ก. เครื่องเชื่อมกระแสตรงและเครื่องเชื่อมกระแสสลับ

ข. เครื่องเชื่อมแบบทรานส์ฟอร์เมอร์และแบบกระแสสลับ

ค. เครื่องเชื่อมแบบมอเตอร์และแบบเครื่องยนต์

ง. เครื่องเชื่อมแบบเรียงกระแสและแบบหม้อแปลงไฟฟ้า

9. รังสีที่เกิดจากการเชื่อมไฟฟ้ามีผลอย่างไรกับนัยน์ตา

ก. ตาลาย

ข. ทำให้ตาบอด

ค. ทำให้สายตาสั้น

ง. ทำให้เกิดการระคายเคือง

10. หน้ากากเชื่อมไฟฟ้าใช้ป้องกันอันตรายจากสิ่งใดมากที่สุด

ก. ความร้อนจากการเชื่อม

ข. แสงและรังสีจากการเชื่อม

ค. ควันจากการเชื่อม

ง. สะเก็ดไฟจากการเชื่อม

ใบความรู้

เรื่อง หลักการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า

จุดประสงค์การเรียนรู้

เมื่อเรียนจบบทเรียนนี้แล้ว นักเรียนสามารถ

1. อธิบายถึงบทบาทและความสำคัญของการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าได้

2. บอกหลักการและความหมายของการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าได้

3. อธิบายเกี่ยวกับชนิดของกระแสไฟฟ้าที่ใช้สำหรับงานเชื่อมไฟฟ้าได้

สาระการเรียนรู้

กระบวนการในการประกอบชิ้นงานเข้าด้วยกันในงานอุตสาหกรรม และโครงสร้างสมัยก่อนใช้การย้ำหมุด สลักเกลียว ตะเข็บ และการตีอัดเป็นหลัก ซึ่งต้องใช้แรงงาน เวลาการทำงานและวัสดุจำนวนมาก จึงทำให้ขบวนการเชื่อมได้ก้าวเข้ามามีความสำคัญ และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน

การเชื่อมโลหะนั้นมีมานานแล้ว เป็นการเชื่อมที่เกิดจากการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานความร้อน หลอมละลายโลหะให้เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นการเชื่อมต่อประกอบชิ้นส่วนโลหะ หรือซ่อมแซมชิ้นส่วนรอยแตกร้าวของโลหะที่ชำรุด งานเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า จึงเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง ซ่อมและดัดแปลง ทำกันแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมแขนงต่าง ๆ ที่มีโลหะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการผลิต เช่น งานโครงสร้างอาคาร งานต่อเรือ งานวางท่อก๊าซ ท่อน้ำมัน งานซ่อม – สร้างสะพาน อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น

ความหมายของการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า

การเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า หมายถึง กระบวนการประสานโลหะให้ติดกัน โดยอาศัยความร้อนที่เกิดจากการอาร์ค (Arc) ของไฟฟ้า ระหว่างชิ้นงานกับลวดเชื่อม ความร้อนจะทำให้ชิ้นงานหลอมละลาย ขณะเดียวกันลวดเชื่อมก็จะละลายเป็นสารเติมลงในรอยต่อของแนวเชื่อม ทำให้ชิ้นงานประสานติดกัน ส่วนฟลั๊กซ์ที่หุ้มลวดเชื่อม ก็จะหลอมละลายเกิดเป็นกลุ่มควันปกคลุมแนวเชื่อม เพื่อป้องกันไนโตรเจนและออกซิเจน ซึ่งมีอยู่ในอากาศเข้าไปรวมตัวกับน้ำโลหะเหลวหรือแนวเชื่อม เมื่อเย็นตัวลงจะกลายเป็นสแลก (Slag) พอกหุ้มรอยเชื่อมไว้ ส่วนความร้อนที่เกิดจากการอาร์คเพื่อหลอมละลายโลหะนั้น สูงประมาณ 4,000 องศาเซลเซียส (สวัสดิ์ อุดมโภชน์, 2551:97)

กระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการเชื่อม (Welding Current)

กระแสไฟฟ้าที่ใช้สำหรับการเชื่อม มีอยู่ 2 ชนิด คือ ไฟฟ้ากระแสตรง

(Direct Current : DC) และไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current : AC)

1. ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC) หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ไฟ DCคือไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนที่ของกระแสไฟไหลจากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่งในทิศทางเดียวกันตลอด โดยมีขั้วลบและขั้วบวกคงที่ เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง (DC Generator)

2.ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current : AC) หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่าไฟ AC เป็นไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนที่ของกระแสไฟไม่คงที่ มีขั้วลบและขั้วบวกสลับกันตลอดเวลา สำหรับในประเทศไทยของเราใช้ไฟฟ้าแบบกระแสสลับกัน 50 ครั้ง ใน 1 วินาที หรือเรียกว่า 50 ไซเกิ้ล ไฟฟ้าชนิดนี้ส่วนใหญ่ได้จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Generator)

กิจกรรมที่ 1

เรื่อง หลักการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้า

จุดประสงค์การเรียนรู้

เมื่อเรียนจบบทเรียนนี้แล้ว นักเรียนสามารถ

1. อธิบายถึงบทบาทและความสำคัญของการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าได้

2. บอกหลักการและความหมายของการเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าได้

3. อธิบายเกี่ยวกับชนิดของกระแสไฟฟ้าที่ใช้สำหรับงานเชื่อมไฟฟ้าได้

คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่ระหว่างข้อความที่มีความสัมพันธ์กัน โดยนำตัวอักษรด้าน

ขวามือมาใส่หน้าข้อความด้านซ้ายมือ (ใช้เวลา 10 นาที 10 คะแนน)

…………1. การยึดชิ้นงานในสมัยก่อน ก. แกนลวดเชื่อม

…………2. โครงสร้างโรงงาน เหล็กดัดหน้าต่าง ข. 4000 องศาเซลเซียส

…………3. ความหมายของการเชื่อมไฟฟ้า ค. การเชื่อมไฟฟ้า

…………4. เติมลงในบ่อหลอมละลาย ง. การย้ำหมุด

…………5. ความร้อนที่เกิดจากการอาร์ค จ. 50 ไซเกิ้ล

…………6. ป้องกันไม่ให้ออกซิเจนรวมตัวกับแนวเชื่อม ฉ. กระแสตรง

…………7. กระแสไฟเชื่อม ช. การประสานโลหะให้ติดกัน

…………8. ไหลไปในทิศทางเดียวตลอด ซ. กระแสตรงและกระแสสลับ

…………9. คลื่นความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ ฌ. สารพอกหุ้มหรือฟลั๊กซ์

…………10. ไฟ AC ญ. กระแสสลับ

ฎ. การเคาะสแลก

ฏ. เม็ดโลหะ

ฐ. บ่อหลอมละลาย

ใบความรู้

เรื่อง เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเชื่อมไฟฟ้า

จุดประสงค์การเรียนรู้

เมื่อเรียนจบบทเรียนนี้แล้ว นักเรียนสามารถ

1. อธิบายถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเชื่อมไฟฟ้าได้

2. อธิบายวิธีการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในงานเชื่อมไฟฟ้าได้อย่างถูกวิธี

สาระการเรียนรู้

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานเชื่อมไฟฟ้านั้น จะมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ได้แก่ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า ลวดเชื่อม หน้ากากเชื่อม หัวจับลวดเชื่อม คีมจับสายดิน สายเชื่อม แปรงลวด ค้อนเคาะสแลก ถุงมือหนัง คีมจับชิ้นงานร้อน และอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานเชื่อมจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจในวิธีการใช้ การประกอบติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์แต่ละชนิด ตลอดจนการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อตนเองและผู้ร่วมงาน ในขณะปฏิบัติงานเชื่อม

เครื่องเชื่อมไฟฟ้า (Electric Welding Machine)

เครื่องเชื่อม เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในกระบวนการเชื่อม เป็นตัวกำเนิดพลังงานโดยผลิตกระแสและแรงเคลื่อนไฟฟ้าออกมาคงที่ และเพียงพอที่จะทำให้การอาร์คระหว่างลวดเชื่อมกับชิ้นงานเกิดความร้อนจนกระทั่งลวดเชื่อมหลอมละลายเติมลงในรอยต่อของชิ้นงาน

เครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เครื่องเชื่อมแบบ DC และเครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current) หรือเครื่องเชื่อมแบบ AC ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้

1. เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current : DC)

เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าคงที่สม่ำเสมอ

ทำให้สามารถทำการเชื่อมได้ง่าย รอยเชื่อมสวยงามใช้เชื่อมงานได้ทุกชนิด และอันตรายจากการใช้เครื่องมีน้อย เครื่องเชื่อมไฟฟ้ากระแสตรงยังมีแบบที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงเพื่อนำไปทำการเชื่อม อีกแบบหนึ่งคือการใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อน มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับแบบมอเตอร์ไฟฟ้า เพียงแต่ใช้กำลังขับจากเครื่องยนต์แทน เหมาะสำหรับใช้เชื่อมงานภาคสนามที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เช่น งานก่อสร้างสะพานหรือถนน งานที่ประกอบนอกโรงงาน เป็นต้น

2. เครื่องเชื่อมกระแสสลับ (Alternating Current : AC)

เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับนิยมใช้กันทั่วไปเนื่องจากมีราคาถูก น้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวกและการบำรุงรักษาง่าย

เครื่องเชื่อมชนิดนี้จะมีทรานส์ฟอร์เมอร์ (Transformer) หรือหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ จะทำหน้าที่เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าจากภายนอกที่ต่อมายังเครื่องให้เป็นแรงดันไฟฟ้าสำหรับเชื่อม หม้อแปลงนี้จะประกอบด้วยขดลวด 2 ขด พันอยู่บนแกนเหล็ก ได้แก่

 ขดลวดปฐมภูมิ (Primary winding) หรือขดลวดทางด้านรับกระแสไฟฟ้า

เป็นขดลวดขนาดเล็กพันรอบแกนเหล็กจำนวนมาก ปลายทั้งสองข้างจะต่อเข้ากับกระแสไฟฟ้าจากภายนอก เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวดจะทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กไหลวนในแกนเหล็กนั้น

 ขดลวดทุติยภูมิ (Secondary winding) หรือขดลวดทางด้านจ่ายกระแส

ไฟฟ้าสำหรับการเชื่อม

เป็นขดลวดที่มีขนาดใหญ่พันอยู่บนแกนเหล็ก ที่ขดลวดนี้จะมีเส้นแรงแม่เหล็กซึ่งเกิดจากการเหนี่ยวนำของขดลวดปฐมภูมิไหลผ่าน ตัดกันกับขดลวดทุติยภูมิ ทำให้เกิดความต้านทานต่ำและมีกระแสสูง ซึ่งเรานำกระแสไฟที่ได้นี้ไปใช้ในการเชื่อม

3. เครื่องเชื่อมไฟฟ้าระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter)

เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้ได้ทั้งกระแสไฟ AC และ DC ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ถึงแม้ราคาค่อนข้างสูง แต่ความได้เปรียบของเครื่องเชื่อมแบบนี้ คือ นอกจากจะมีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก สามารถหิ้วได้ด้วยมือ เชื่อมงานบางได้ ต่อใช้กับเครื่องเชื่อมทิก (Tig) ได้ด้วยระบบความถี่สูงที่มีอยู่ในเครื่อง กินกระแสไฟฟ้าน้อย ให้ประสิทธิภาพ ในการเชื่อมสูง กระแสไฟเชื่อมคงที่ทำให้การอาร์คสม่ำเสมอ แนวเชื่อมมีความเรียบสวยโดยไม่ต้องตกแต่งให้เสียเวลา ประหยัดไฟและลวดเชื่อม สามารถเสียบกับเต้ารับภายในบ้านได้

หลักการทำงานของเครื่องเชื่อมชนิดนี้ ใช้อินเวอร์เตอร์ควบคุม (Inverter Control) คลื่นความถี่จาก 50 Hz ให้สูงถึง 20 kHz ด้วยชุดควบคุมกำลังทรานซิสเตอร์ โดยมีชุดเรกติไฟเออร์เปลี่ยนกระแสสลับ AC (Input) เป็นกระแสตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นกระแสสลับความถี่สูง แล้วจึงเรียงกระแสใหม่อีกครั้ง ด้วยชุดเรกติไฟเออร์ ทำให้มีคลื่นความถี่สูง และคลื่นเรียบด้วยกระแสสลับ DC (Output) เพื่อใช้ในงานเชื่อม

ลวดเชื่อมไฟฟ้า (Electrode)

เป็นแท่งโลหะที่มีส่วนผสมทางเคมีใกล้เคียงกับโลหะที่ทำการเชื่อม ทำหน้าที่เป็นตัวอาร์คกับโลหะงานทำให้เกิดความร้อนสูงจนกระทั่งโลหะงานหลอมละลาย

ลวดเชื่อมไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ลวดเชื่อมเปลือยและลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์

1. ลวดเชื่อมเปลือย (Bare Electrode)

ลวดเชื่อมชนิดนี้จะเป็นแกนเหล็กไม่มีฟลั๊กซ์หุ้ม ใช้เชื่อมงานบางประเภทที่ไม่

ต้องการคุณภาพของแนวเชื่อมมากนัก ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้เพราะทำการเชื่อมได้ยากและการอาร์คไม่สม่ำเสมอ แนวเชื่อมที่ได้จะมีความแข็งแรงน้อยกว่าแนวเชื่อมที่เชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์

2. ลวดเชื่อมหุ้มฟลั๊กซ์ (Flux Covered Electrode)

ลวดเชื่อมชนิดนี้มีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ แกนลวดเชื่อม (Core) และสารพอกหุ้มหรือฟลั๊กซ์ (Flux)

 แกนลวดเชื่อม (Core) มีหน้าที่สำคัญสองอย่างคือ เป็นขั้วไฟฟ้าทำให้เกิดการอาร์คและในขณะเดียวกันจะเป็นตัวเติมเนื้อโลหะลงในแนวเชื่อมด้วย

 สารพอกหุ้มหรือฟลั๊กซ์ (Flux) ประกอบด้วยแร่ธาตุหลายชนิด มีส่วนผสมที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติที่ต้องการ

หน้าที่ของฟลั๊กซ์ คือ

 ช่วยให้เกิดการอาร์คได้ง่ายและสม่ำเสมอ

 ช่วยป้องกันออกซิเจนในอากาศเข้าไปรวมตัวกับน้ำโลหะในบ่อหลอมละลาย โดยจะเกิดม่านแก๊สปกคลุมแนวเชื่อม

 ช่วยดึงสิ่งสกปรก สารมลทินในบ่อหลอมละลายขึ้นมารวมตัวกันเป็นสแลก (Slag)

ขนาดของลวดเชื่อมไฟฟ้า มีขนาดเป็นมาตรฐานตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนลวด เช่น ขนาด 2.6, 3.25, 4.0และ 5.0 มิลลิเมตร การเลือกใช้ลวดเชื่อม ต้องเลือกให้ตรงกับชนิดของงานที่จะเชื่อม เช่น ลวดเชื่อมเหล็กเหนียว ต้องเชื่อมกับเหล็กเหนียว ถ้านำไปเชื่อมเหล็กหล่อจะทำให้รอยเชื่อมไม่แข็งแรง การนำไปใช้จะต้องดูข้อกำหนดที่ผู้ผลิตบอกไว้ข้างกล่องลวดเชื่อม เช่น การตั้งค่ากระแสไฟ ตำแหน่งการเชื่อมหรือท่าเชื่อม เป็นต้น

หน้ากากเชื่อม

เป็นอุปกรณ์ป้องกันดวงตาและใบหน้าไม่ให้ได้รับอันตรายจากแสงและรังสีที่เกิดจากการเชื่อมและเม็ดโลหะร้อนที่กระเด็นออกมา นอกจากนี้ยังช่วยให้มองเห็นบ่อหลอมละลายขณะเชื่อมได้ รังสีที่เกิดขึ้นจากการเชื่อมได้แก่รังสีอัลตราไวโอเลต และรังสีอินฟราเรด ซึ่งมีผลทำให้เกิดอันตรายต่อสายตา ตาเจ็บและผิวหนังลอกไหม้ได้

หน้ากากเชื่อมมี 2 ชนิด คือ

1. ชนิดสวมศีรษะ (Helmet) หน้ากากชนิดนี้ จะมีกระจกกรองแสงที่สามารถเปิด-ปิด ขึ้นลงได้ ทำให้สะดวกในการทำงาน เหมาะสำหรับการเชื่อมในที่สูง เช่น โครงสร้างหลังคาต่าง ๆ

นอกจากนี้ยังมีชนิดสวมศีรษะแบบปรับแสงอัตโนมัติ (Automatic Welding Filter) ให้เลือกใช้ ซึ่งหน้ากากเชื่อมไฟฟ้าโดยทั่วไปแล้วในขณะที่ทำการเชื่อม แสงที่เกิดจากการเชื่อมที่มีความสว่างมาก จะทำให้ผู้ทำการเชื่อมสามารถมองผ่านกระจกกรองแสงเห็นบ่อหลอมละลายได้อย่างชัดเจน แต่เมื่อหยุดทำการเชื่อมแล้ว จะไม่สามารถมองผ่านกระจกกรองแสงเห็นรอยเชื่อมได้ จำเป็นต้องเลื่อนหน้ากากเชื่อมไฟฟ้าเข้าออกเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สามารถมองเห็นรอยเชื่อม บางครั้งการเลื่อนหน้ากากเชื่อมมาปิดไม่ทัน ทำให้สายตากระทบกับแสงไฟเชื่อมเป็นเหตุให้สายตามองไม่เห็นชั่วขณะหนึ่ง นานเข้าก็อาจเป็นสาเหตุทำให้สายตาเสื่อมได้

ด้วยเหตุอุปสรรคเหล่านี้ จึงได้มีผู้คิดค้นการติดตั้งกระจกปรับแสงอย่างรวดเร็ว (Speed Glass) ขึ้นมาใช้ในงานเชื่อม สามารถมองเห็นชิ้นงานได้ตลอดเวลาทั้งก่อนเชื่อมขณะทำการเชื่อม และหลังการเชื่อม หน้ากากเชื่อมปรับแสงอัตโนมัติ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จึงไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ ทำให้เกิดความเที่ยงตรงสูง ไม่ต้องเสียเวลาในการเลื่อนหน้ากากเข้าออก

ข้อดีของหน้ากากเชื่อมปรับแสงอัตโนมัติ

1) เป็นหน้ากากเชื่อมชนิดสวมศีรษะ ช่วยให้สะดวกและคล่องตัวขณะทำงาน

2) สามารถเลือกปรับใช้ได้กับงานเจียรนัย และงานเชื่อม

3) ปรับความไวแสงได้ทั้งก่อนและหลังการเชื่อม ผู้ใช้ไม่ระคายเคืองตา

4) เลือกปรับความเข้มของแสงได้หลายระดับ ตั้งแต่เบอร์ 9 – เบอร์ 13

2. ชนิดมือถือ (Hand Shield) หน้ากากชนิดนี้เหมาะสำหรับการทำงานบนพื้นราบ หรือการเชื่อมในท่าราบ เชื่อมยึดเป็นช่วงสั้น ๆ

 หน้ากากทั้งสองนี้ชนิดจะประกอบด้วยกระจกใส และกระจกกรองแสง วางซ้อนกันอยู่โดยกระจกใสจะอยู่ด้านนอก เพื่อป้องกันมิให้เม็ดโลหะร้อนกระเด็นมาติดกระจกกรองแสงซึ่งมีราคาแพงกว่าชำรุดเสียหาย

โพสต์โดย ครูพร : [9 มิ.ย. 2561 เวลา 17:54 น.]
อ่าน [5273] ไอพี : 125.26.236.219
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 877 ครั้ง
มาตรฐานสากล ISO 9001 คืออะไร ทำไมจึงสำคัญต่อสถาบันการศึกษา
มาตรฐานสากล ISO 9001 คืออะไร ทำไมจึงสำคัญต่อสถาบันการศึกษา

เปิดอ่าน 32,247 ครั้ง
กฎหมายน่ารู้ ตอน "ครูยึดโทรศัพท์นักเรียน มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์"
กฎหมายน่ารู้ ตอน "ครูยึดโทรศัพท์นักเรียน มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์"

เปิดอ่าน 21,731 ครั้ง
ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง
ทั่วโลกยอมรับ นร.เก่งได้เพราะครูเก่ง

เปิดอ่าน 13,443 ครั้ง
ไข่กระโดด ไปดูกันครับ วิทย์ล้วนๆ
ไข่กระโดด ไปดูกันครับ วิทย์ล้วนๆ

เปิดอ่าน 3,486 ครั้ง
ประโยชน์ของขมิ้นชัน
ประโยชน์ของขมิ้นชัน

เปิดอ่าน 19,048 ครั้ง
มาฝึกสมาธิเบื้องต้นกันดีกว่า
มาฝึกสมาธิเบื้องต้นกันดีกว่า

เปิดอ่าน 22,997 ครั้ง
เงินเดือนเป็นความลับ
เงินเดือนเป็นความลับ

เปิดอ่าน 15,725 ครั้ง
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยเพื่อเป็นเกียรติแก่นักดาราศาสตร์ไทย
สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยเพื่อเป็นเกียรติแก่นักดาราศาสตร์ไทย

เปิดอ่าน 3,210 ครั้ง
11 ผลไม้บำรุงผิว ช่วยให้ผิวที่เปล่งปลั่ง และสุขภาพดี
11 ผลไม้บำรุงผิว ช่วยให้ผิวที่เปล่งปลั่ง และสุขภาพดี

เปิดอ่าน 22,801 ครั้ง
เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

เปิดอ่าน 16,092 ครั้ง
ดูให้รู้ - โรงเรียนญี่ปุ่น
ดูให้รู้ - โรงเรียนญี่ปุ่น

เปิดอ่าน 14,825 ครั้ง
15 วิธีกับ 15 นาที ออกกำลังกายสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา
15 วิธีกับ 15 นาที ออกกำลังกายสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา

เปิดอ่าน 18,663 ครั้ง
รู้จัก 3 แมลงร้าย..พาหะนำโรค ที่แฝงตัวอยู่ใน “บ้าน”
รู้จัก 3 แมลงร้าย..พาหะนำโรค ที่แฝงตัวอยู่ใน “บ้าน”

เปิดอ่าน 96,922 ครั้ง
20 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้
20 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้

เปิดอ่าน 91,837 ครั้ง
จั๋ง...ต้นไม้ฟอกอากาศ
จั๋ง...ต้นไม้ฟอกอากาศ

เปิดอ่าน 7,111 ครั้ง
เช็คด่วน! 13 แอปฯ อันตราย "ดูดเงิน-สอดแนม" มีอะไรบ้าง ลบทิ้งทันที
เช็คด่วน! 13 แอปฯ อันตราย "ดูดเงิน-สอดแนม" มีอะไรบ้าง ลบทิ้งทันที
เปิดอ่าน 19,440 ครั้ง
เรื่องของกลิ่นปาก
เรื่องของกลิ่นปาก
เปิดอ่าน 14,123 ครั้ง
วิธีล้างคราบน้ำชาที่ติดแก้ว
วิธีล้างคราบน้ำชาที่ติดแก้ว
เปิดอ่าน 68,201 ครั้ง
วิธีการทดสอบน้ำผึ้งแท้หรือปลอม
วิธีการทดสอบน้ำผึ้งแท้หรือปลอม
เปิดอ่าน 617 ครั้ง
เทคนิคการเลือกใช้บริการซ่อมหลังคาโรงงาน
เทคนิคการเลือกใช้บริการซ่อมหลังคาโรงงาน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ