บทคัดย่อ
รายงานผลการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ทดสอบประสิทธิภาพของแผนการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ตามเกณฑ์มาตรฐาน E๑/E๒ = ๘๐/๘๐ ๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนมก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ๓) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และ ๔) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ต่อการสอนซ่อมเสริมภาษาไทย โดยใช้ซองขนม กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ จำนวน ๓๖ คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลาก (Simple random Sampling) จากห้องเรียนทั้งหมด ๘ ห้องเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วย
การสุ่ม ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการดำเนินการสอนซ่อมเสริมในชั่วโมงเรียนพิเศษ นอกเหนือจากตารางเรียนปกติในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โดยดำเนินการสอนซ่อมเสริมทุกวันทำการ ระหว่างเวลา ๑๕.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ระหว่างวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ - ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ ทั้งนี้ไม่รวมเวลาทดสอบ
ก่อนเรียน และหลังเรียน เครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ ๑) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เป็นแบบทดสอบแบบเขียนตอบ จำนวน ๕ ตอน ๖๐ คะแนน ๒) แผนการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้
ซองขนม จำนวน ๒๐ แผน ๓) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม จำนวน ๑ ชุด วิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์โดย ๑) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้
ตามเกณฑ์ E๑ / E๒ ๒) ทดสอบนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของการสอน
ซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test for Dependent) ๓) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม และ ๔) วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และ
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานรายข้อและภาพรวมของแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS For Windows
ผลการศึกษา พบว่า
๑. แผนการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม มีประสิทธิภาพ E๑/E๒ = ๘๕.๗๒/๘๒.๒๓ ผ่านเกณฑ์
๒. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่ได้รับการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
๓. แผนการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ ๐.๕๑๕๒ แสดงว่า หลังจากการใช้แผนการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม นักเรียน
มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ ๕๑.๕๒
๔. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่ได้รับการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนม
มีความเห็นต่อการสอนซ่อมเสริมภาษาไทยโดยใช้ซองขนมในระดับมากที่สุด