ชื่อ การพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการฟัง การพูดของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือ
คำคล้องจองประกอบภาพ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโพธิ์ตาสี
ผู้ทำรายงาน นางสาวภัทรธาดา ศิริสินรุ่งโรจน์
ปี พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัยที่ใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัย ที่ใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ 3) เพื่อพัฒนาหนังสือคำคล้องจองประกอบภาพสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโพธิ์ตาสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5 จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ชุด ผัก ผลไม้
จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดประสบการณ์ โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ จำนวน 9 เรื่อง 27 แผน และแบบประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟัง การพูดของเด็กปฐมวัย แบ่งแบบทดสอบเป็น 2 ชุด คือ แบบทดสอบภาคปฏิบัติ และแบบทดสอบแบบเลือกตอบ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีหาค่าเฉลี่ย (X bar) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการทดสอบค่าที t test
ผลการศึกษาพบว่า
1) ผลการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนแบบประเมินทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดย
ใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ชุด ผัก ผลไม้ ในด้านการฟัง สรุปได้ดังนี้ ค่าเฉลี่ย (X bar) ของคะแนนก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เท่ากับ 7.60 และ 9.00 ตามลำดับ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เท่ากับ 0.55 และ 0.71 ของคะแนนแบบประเมินทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ชุด ผัก ผลไม้ ในด้านการฟัง หลังการจัดประสบการณ์ สูงกว่า ก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2) ผลการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานของคะแนนแบบประเมินทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย โดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ชุด ผัก ผลไม้ ในด้านการพูด สรุปได้ดังนี้ ค่าเฉลี่ย (X bar) ของคะแนนก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เท่ากับ 7.80 และ 9.00 ตามลำดับ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เท่ากับ 0.84 และ 0.71 ของคะแนนแบบประเมินทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยโดยใช้หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ชุด ผัก ผลไม้ ในด้านการพูด หลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) หนังสือคำคล้องจองประกอบภาพ ชุด ผัก ผลไม้ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เท่ากับ (83.56/ 83.50)