ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ
การเขียน เรื่อง ประโยคสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา นายทัศพงษ์เดช ดวงพิมพ์
ตำแหน่ง ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านแม่ขะปู อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน เรื่อง ประโยคสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน เรื่อง ประโยคสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ
การเขียน เรื่อง ประโยคสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านแม่ขะปู อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ประกอบด้วยสื่อสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน เรื่อง ประโยคสร้างสรรค์ จำนวน 7 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ประโยคสร้างสรรค์ จำนวน 1 ฉบับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ คู่มือครูและแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้การทดสอบค่า t-test (Dependent Sample)
ผลการศึกษา พบว่า
1. สื่อสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน เรื่อง ประโยคสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ภาพรวมมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ มีประสิทธิภาพ 83.58/83.43
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ประโยคสร้างสรรค์ พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจนักเรียนต่อการเรียนด้วยสื่อสร้างสรรค์ประกอบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียน เรื่อง ประโยคสร้างสรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก โดยในรายละเอียดพบว่าความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมากทุกรายการ