บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการสร้างและการใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ศท 0301
สระแก้วศึกษา ระดับอนุปริญญาวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว
ชื่อผู้วิจัย นางสาวฐิติมา มีช้าง ครูชำนาญการ วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพ
ในการเรียนการสอน โดยใช้เอกสารประกอบการสอน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการสอน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการสอน รายวิชา ศท 0301 สระแก้วศึกษา
การดำเนินการวิจัย มี 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการ
วิเคราะห์กำหนดเป็นแนวคิด 2)จัดสร้างเอกสารประกอบการสอน 3) นำเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบประเมินประสิทธิภาพ 4)รวบรวมข้อมูล เพื่อทำการวิเคราะห์และ 5) สรุปผลนำไปปรับปรุงแก้ไขจัดสร้างเป็นเอกสารประกอบการสอนรายวิชาศท 0301 สระแก้วศึกษา ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหา จำนวน 7 หน่วย แบบทดสอบก่อนเรียน เนื้อหา กิจกรรมปฏิบัติ แบบฝึกหัด และแบบทดสอบหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ได้แก่ นักศึกษาระดับอนุปริญญาวิทยาลัยชุมชนสระแก้ว ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา ศท 0301 สระแก้วศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน รุ่นที่ 3 จำนวน 21 คน นักศึกษาสาขาวิชาเกษตรอินทรีย์ รุ่นที่ 6 จำนวน 5 คน นักศึกษาสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น รุ่นที่ 28 จำนวน 6 คน และนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ รุ่นที่ 28 จำนวน 9 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 41 คน โดยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการสอน 2) แบบประเมิน
สำหรับผู้เชี่ยวชาญ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน
วิชา ศท 0301 สระแก้วศึกษา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน และของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ศท 0301 สระแก้วศึกษา โดยใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา ศท 0301 สระแก้วศึกษา มีประสิทธิภาพ(E1/E2)
เท่ากับ 80.50/81.83 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือร้อยละ 80
2. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 31.71 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 51.32 ผลต่างเท่ากับ 29.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักศึกษาที่พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก