ชื่อเรื่อง รูปแบบพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์แจ้(มาลีราษฎร์บำรุง) ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ผู้วิจัย ว่าที่ร้อยตรีกฤตนัน ศิรพึ่งเงิน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโพธิ์แจ้(มาลีราษฎร์บำรุง)
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องรูปแบบพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์แจ้(มาลีราษฎร์บำรุง) ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของของนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์แจ้(มาลีราษฎร์บำรุง) ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 3.)เพื่อศึกษาผลการตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์แจ้(มาลีราษฎร์บำรุง) ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 4) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์แจ้ (มาลีราษฎร์บำรุง) ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ที่นำเสนอมีมากน้อยเพียงใด ประชากร ได้แก่ ครูวิชาการและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร และกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน และครูวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามจำนวน และขนาด ของสถานศึกษา โดยกำหนดผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้บริหารโรงเรียนละ 1 คน และครูวิชาการโรงเรียนละ 1 คน รวมผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นจำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และเปรียบเทียบก่อนและหลังการใช้รูปแบบฯ โดยใช้สูตร t-test ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลจากการศึกษาสภาพปัจจุบัน พฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการประเมินตามสภาพจริง ด้านการเตรียมการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการสอน และด้านการใช้สื่อประกอบการสอน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่นๆ
2. รูปแบบพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์แจ้(มาลีราษฎร์บำรุง)ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีองค์ประกอบ 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) จุดประกาย 2)ให้ความรู้ 3) นำครูสู่การปฏิบัติ 4) จัดการสอนหลากหลาย 5) ให้การกำกับดูแล และ6) เผยแพร่ผลงาน
3. รูปแบบพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์แจ้(มาลีราษฎร์บำรุง)ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก โดยพบว่า ด้านความเหมาะสมมากกว่าด้านอื่น ๆ สมควรนำไปใช้พัฒนาพัฒนาการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ต่อไป
4. ผลการทดลองใช้รูปแบบพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดโพธิ์แจ้(มาลีราษฎร์บำรุง)ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายละเอียด พบว่าหลังการทดลองใช้รูปแบบฯ ขั้นที่ 1 จุดประกาย สามารถกระตุ้นให้ครูเกิดแรงจูงใจในการสอนมากขึ้นกว่าก่อนการทดลอง ขั้นที่ 2 ให้ความรู้ ครูมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเทคนิค วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากกว่าก่อนการทดลอง ขั้นที่ 3 นำครูสู่การปฏิบัติ ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ออกแบบการสอน จัดเตรียมสื่อ มากว่าก่อนการทดลอง ขั้นที่ 4 จัดการสอนหลากหลาย ครูสามารถจัดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางด้วยเทคนิค วิธีการสอนที่หลากหลายได้มากกว่าก่อนการทดลอง ขั้นที่ 5 ให้การกำกับ ดูแล ให้ความช่วยเหลือแนะนำ เรื่องการจัดกิจกรรมการสอนมากขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และขั้นที่ 6 เผยแพร่ผลงาน ครูมีการเผยแพร่ผลงานมากกว่าก่อนการทดลอง ด้านการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และพบว่าหลังทดลอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาหลักโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นทุกวิชาและพบว่านักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้นหลังจากทดลองใช้รูปแบบฯ ด้านความคิดเห็นของนักเรียนต่อการสอนของครูพบว่า ก่อนและหลังทดลอง นักเรียนมีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการสอนของครูแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยด้านความคิดเห็นของนักเรียนต่อพฤติกรรมการสอนของครู หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง