ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมการจัดบรรยากาศทางวิชาการ โรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
ผู้ประเมิน นางสาวนิโลบล พุทธานุรักษ์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมการจัดบรรยากาศทางวิชาการ โรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการส่งเสริม การจัดบรรยากาศทางวิชาการ โรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ในด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการและด้านผลผลิตของโครงการ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดบรรยากาศทางวิชาการ โรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน จำนวน 211 คน การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น และเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5ระดับ มีจำนวน 4 ฉบับ และแบบบันทึกคะแนน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม มีดังนี้ แบบสอบถามฉบับที่ 1 ด้านสภาวะแวดล้อม มีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.97 แบบสอบถามฉบับที่ 2 ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.98 แบบสอบถามฉบับที่ 3 ด้านกระบวนการ มีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.98 และแบบสอบถามฉบับที่ 4 ด้านผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่นที่ระดับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
ผลการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดบรรยากาศทางวิชาการ โรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 พบว่า ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ด้านกระบวนการของโครงการและด้านผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด 6 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 4 ข้อ ซึ่งผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจทุกข้อ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 6 ข้อ ซึ่งผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจทุกข้อ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 8 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 12 ข้อ ซึ่งผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจทุกข้อ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ และอยู่ในระดับมาก 20 ข้อ ซึ่งผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจทุกข้อ
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตในด้านความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดบรรยากาศทางวิชาการ โรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์เป็นที่ น่าพอใจ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ข้อ และระดับมาก 14 ข้อ ซึ่งผ่านเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจทุกข้อ
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2,3,5 และ6 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2,4 และ 5 ในปีการศึกษา 2559 (กลุ่มเดิม) โรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 พบว่า โดยภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเชื้อเพลิงวิทยา ปีการศึกษา 2560 สูงกว่าปีการศึกษา 2559 ในทุกระดับชั้น โดยมีระดับพัฒนาการทางการเรียนรู้ของนักเรียนสูงขึ้นทุกระดับชั้น ได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ 6.95 เมื่อพิจารณาตามระดับชั้น พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีระดับพัฒนาการทางการเรียนรู้สูงขึ้นมากที่สุด (10.80) รองลงมา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (9.72) นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 (5..88) และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (2.48) ตาม