ชื่อผลงาน การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ เรื่อง แสงกับการมองเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนตามวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน
ผู้ศึกษา นางสรินยา อินต๊ะภา โรงเรียนบ้านคลองวังทอง เทศบาลตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ตรวจสอบประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เรื่องแสงกับการมองเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 2.เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่องแสงกับการมองเห็น ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน และ3. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงกับการมองเห็นหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน
รูปแบบการวิจัยที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งดำเนินการทดลองโดยใช้
รูปแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง (One Group Pre test Post test Design) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านคลองวังทอง เทศบาลตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย จำนวน 20 คน ได้มาโดยการการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เรื่อง แสงและการมองเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 13 แผน ใช้เวลาสอนรวม 13 ชั่วโมง และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง แสงและการมองเห็น เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.50 0.67 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.26 0.81 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แสงและการมองเห็น โดยใช้โดยใช้รูปแบบการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน เป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) ของลิเคิร์ท จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t -test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7
ขั้นตอน เรื่องแสงกับการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตาม (E1/E2) เท่ากับ 75.30/75.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ยอมรับสมมติฐานการวิจัยในข้อ 1
2. คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงและการมองเห็น ก่อนเรียน (x̄ = 17.95 ,SD. = 3.03) และหลังเรียน (x̄ = 22.55 ,SD. = 1.47) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงกับ
การมองเห็นหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน โดยรวม และรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด