รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องสารและ
การเกิด ปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา นางสาวพรรณรมณ ภิระ
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สารและการเกิด ปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สารและการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สารและการเกิด ปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องสารและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแม่มอกวิทยา จังหวัดลำปาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สารและการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 ชุด 2) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และแผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารและการเกิดปฏิกิริยาเคมี แบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 16 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สารและการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.68/80.33
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องสารและการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนร้อยละ 57.19
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง สารและการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ0.34 และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน