การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ23102 เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ23102 เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ23102 เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ จานวน 6 ห้อง (ม.3/7-ม.3/12) จานวนนักเรียน 235 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30 จังหวัดชัยภูมิ จานวน 1 ห้อง จานวนนักเรียน 45 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ23102 เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จานวน 5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นคู่มือใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ23102 เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จานวน 7 แผน รวม 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ23102 เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จานวน 30 ข้อ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ23102 เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก และมากที่สุด จานวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (𝑥̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติทดสอบที (t-test )
ผลการศึกษาพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา ดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ23102 เรื่อง
นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.68/84.07 สูงกว่า
เกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. นักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา ดนตรี-นาฏศิลป์
รหัสวิชา ศ23102 เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (X ) เท่ากับ 13.93 คิดเป็นร้อยละ 46.44
และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย ( X ) เท่ากับ 25.22 คิดเป็นร้อยละ 84.07 เมื่อนาคะแนนทดสอบก่อนเรียนและ
หลังเรียนมาเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่าสถิติที (Dependent Sample : t-test) พบว่า คะแนน
ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐาน
ที่ตั้งไว้
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา
ดนตรี-นาฏศิลป์ รหัสวิชา ศ23102 เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ใน
ระดับมากที่สุด โดยรวมเฉลี่ย ( x ) เท่ากับ 4.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.20 และมี
นักเรียนที่มีความพึงพอใจในระดับมากขึ้นไป จานวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เป็นไปตามสมมติฐาน
ที่ตั้งไว้