รายงานผลการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1/1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 จังหวัดแพร่ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 39 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Specific Purpose Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 กลวิธีการอ่านใจความสำคัญ เล่มที่ 2 วิถีชีวิตชนเผ่า เล่มที่ 3 ของดีเมืองแพร่ เล่มที่ 4 นิทานคุณธรรม และเล่มที่ 5 ล้ำค่าประเพณีไทย แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดย t - test ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.05/80.83
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านเพื่อจับใจความสำคัญหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 25 จังหวัดแพร่
มีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด คือ นักเรียนชอบเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 รองลงมา คือ แบบฝึกทักษะมีขนาดของตัวอักษรที่อ่านง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียน ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีความพึงพอใจต่ำสุด คือ เวลาที่ใช้ในการทำแบบฝึกทักษะมีความเหมาะสม ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 อยู่ในระดับมาก และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเฉลี่ยเท่ากับ 0.28 แสดงว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน