ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
โรงเรียนวัดนางเอื้อย อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้ประเมิน นายจีระวัฒน์ ศรีแก้วณวรรณ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนวัดนางเอื้อย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ปีที่รายงาน 2560
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนวัดนางเอื้อย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทในของโครงการเกี่ยวกับความต้องการและจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ และความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงาน 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ 3) ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงาน การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา ของกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรม คือ กิจกรรมการเข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมกิจกรรมธนาคารความดี กิจกรรมเข้าร่วมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และกิจกรรมสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมประจำวันศุกร์ และ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นครูผู้สอน นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 158 คน จำแนกเป็นครู จำนวน 7 คนนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 55 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 89 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบบันทึกข้อมูล จำนวน 1 ฉบับ และแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ที่ผู้ประเมินได้สร้างขึ้น ข้อคำถามเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90-0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC หาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม และสัมประสิทธิ์แอลฟ่า หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและ ทุกตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากทุกตัวชี้วัดความต้องและการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ และความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงาน
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากทั้งตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากทุกตัวชี้วัด
ทั้งตัวชี้วัดการวางแผน การดำเนินงาน การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากทุกตัวชี้วัดทั้งตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา และความพึงพอใจของครู
ข้อเสนอแนะ
การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดนางเอื้อย ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาจากหลาย ๆ ฝ่าย ซึ่งประกอบด้วย ครูผู้สอน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง จากผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดนางเอื้อย จะเห็นได้ว่าควรดำเนินโครงการนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้เกี่ยวข้องควรนำผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. จากผลการประเมินประเด็นบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ความร่วมมือของผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากแต่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผู้บริหารจึงควรศึกษานโยบาย กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้ละเอียดและชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง นอกจากนี้บริบทของโครงการเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการการดำเนินโครงการ การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการจะเป็นเข็มทิศชี้นำการปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จได้ดี จึงควรมีการพิจารณาถึงความต้องการจำเป็นของสภาพแวดล้อม คือ ความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู และกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และสภาพปัญหาของนักเรียน อันเป็นการตอบสนองความต้องการของนักเรียนอย่างแท้จริง
2. จากผลการประเมินในประเด็นปัจจัยนำเข้าโครงการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า บุคลากรได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มโครงการอยู่ในระดับมากแต่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผู้บริหารจึงควรระดมทรัพยากรและงบประมาณจากภาคส่วนต่างๆ นอกเหนือจากเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมให้เพียงพอและเหมาะสมกับการทำกิจกรรม และควรสร้างขวัญกำลังใจและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้พร้อมก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
3. จากผลการประเมินในประเด็นกระบวนการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ
มากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบมีความเหมาะสม ตรงตามความรู้ความสามารถ การประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้เกี่ยวข้อง และหน่วยงานต่าง ๆ ทราบ การประสานงานให้เกิดความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และมีการนำผลการประเมินมาร่วมกัน กำหนดแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาโครงการให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากแต่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผู้บริหารควรมีการแต่งตั้งกรรมการรับผิดชอบโครงการและกิจกรรมตามความรู้ความสามารถและความถนัด เมื่อดำเนินกิจกรรมแล้วควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะในรูปแบบต่างๆ ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ มีการขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกหรือพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือ และติดตามผลในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นและหลากหลายเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ยิ่งขึ้น
4. จากผลการประเมินในประเด็นผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
นักเรียน ผู้ปกครอง และครู มีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมาก จึงควรจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะกับความต้องการและสภาพปัญหาของนักเรียน เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และครู และเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น