ชื่อเรื่อง รายงานการสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงาน
อาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) การแปรรูปอาหารตามแนวทางหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ผลไม้มหัศจรรย์ กระท้อนผลไม้ใจดี สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นางบุญเรือง ถาวรวิสิทธิ์
ปีที่ศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) การแปรรูปอาหารตามแนวทาง
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ผลไม้มหัศจรรย์ กระท้อนผลไม้ใจดี สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80 / 80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) การแปรรูปอาหารตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ผลไม้มหัศจรรย์ กระท้อนผลไม้ใจดี สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านโปะหมอ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยเอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) การแปรรูปอาหารตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ผลไม้มหัศจรรย์ กระท้อนผลไม้ใจดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 เล่ม แผนจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) การแปรรูปอาหารตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ผลไม้มหัศจรรย์ กระท้อนผลไม้ใจดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) การแปรรูปอาหารตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ผลไม้มหัศจรรย์ กระท้อนผลไม้ใจดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าที (t-test dependent)
ผลการศึกษาพบว่า :
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) การแปรรูปอาหารตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เรื่อง ผลไม้มหัศจรรย์ กระท้อนผลไม้ใจดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ
85.87 / 82.90
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) การแปรรูปอาหารตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ผลไม้มหัศจรรย์ กระท้อนผลไม้ใจดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 16.03 , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.86 และ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 24.79 , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.71
3. ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานบ้าน) การแปรรูปอาหารตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง ผลไม้มหัศจรรย์ กระท้อนผลไม้ใจดี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.80