ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบุคลากร เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนบ้านทัพกระบือ ตำบลสำโรง
อำเภอ เมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ชื่อผู้วิจัย นายวิรชัช บุญรับ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านทัพกระบือ ตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการในครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปโมเดล (CIPP Model) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.) เพื่อประเมินโครงการใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ 2.) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยรวมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเตรียมการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านพฤติกรรมของผู้เรียน ระหว่างผลการประเมินในวงรอบที่ 1 และผลการประเมินในวงรอบที่ 2 3.) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของบุคลากรในโรงเรียนบ้านทัพกระบือ ระหว่างคะแนนทดสอบวัดผลความรู้ความเข้าใจก่อนการดำเนินโครงการและหลังการดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในโรงเรียนบ้านทัพกระบือจำนวน 25 คน และนักเรียนจำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้แก่ แบบประเมินผลด้านบริบท แบบประเมินผลด้านปัจจัยนำเข้า แบบประเมินผลด้านกระบวนการ และแบบประเมินผลด้านผลผลิต แบบทดสอบวัดผลความรู้ความเข้าใจ จำนวน 50 ข้อ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบ t - test dependent Samples
ผลการประเมินโครงพัฒนาบุคลากรเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียนบ้านทัพกระบือ ตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยรวมทั้ง 4 ด้านมีระดับการปฎิบัติและการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด
(x̄=4.57) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบทของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.46) ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.67) ด้านกระบวนการของโครงการมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.78) และด้านผลผลิตของโครงการมีการปฎิบัติและดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับมาก ( x̄=4.37) และเมื่อพิจารณาผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการเป็นรายด้าน พบว่า มีระดับการปฏิบัติและการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยูในระดับมากทั้ง 3 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอน ( x̄=4.46) ด้านพฤติกรรมของผู้เรียน (x̄ =4.34) และด้านการเตรียมการ
สอน ( x̄=4.32) เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการโดยรวมทุกด้านตามวงรอบการประเมินพบว่า ผลการประเมินในวงรอบที่ 2 มีระดับการปฏิบัติและการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (x̄ ) เท่ากับ 4.69 ซึ่งสูงกว่าผลการประเมินในวงรอบที่ 1 ที่มีระดับการปฏิบัติและการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.05 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 3 ด้าน พบว่า ผลการประเมินในวงรอบที่ 2 สูงกว่าผลการประเมินในวงรอบที่ 1 ทั้ง 3 ด้าน เมื่อพิจารณาผลการทดสอบวัดผลความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของบุคลากรในโรงเรียนบ้านทัพกระบือ ตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พบว่า คะแนนทดสอบวัดผลความรู้ความเข้าใจก่อนการดำเนินโครงการมีคะแนนเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 35.56 และคะแนนทดสอบวัดผลความรู้ความเข้าใจหลังการดำเนินโครงการมีคะแนนเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 46.64 เมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบวัดผลความรู้ความเข้าใจระหว่างคะแนนทดสอบวัดผลความรู้ความเข้าใจก่อนการดำเนินโครงการและคะแนนทดสอบวัดผลความรู้ความเข้าใจหลังการดำเนินโครงการ พบว่า คะแนนทดสอบวัดผลความรู้ความเข้าใจหลังการดำเนินโครงการสูงกว่าคะแนนทดสอบวัดผลความรู้ความเข้าใจก่อนการดำเนินโครงการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการดำเนินโครงการ