ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์)
ชื่อผู้วิจัย นางภิรมย์ศรี สมทบ
ปีที่พิมพ์ 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีวัตถุประสงค์
ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้และเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) และ4)เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) มีกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้
ตอนที่ 1 ครูผู้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนในเขตอำเภอเมืองกาญจนบุรี สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 6 โรง จำนวน 12 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในเขตอำเภอเมืองกาญจนบุรี สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 20 คน 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 100 คน ตอนที่ 2 ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญสำหรับการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ จำนวน 5 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่เลือกมาแบบเจาะจง 30 คน สำหรับการทดลองใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแบบทดสอบหลังเรียนรู้ 3) นักเรียนชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างและเลือกมาแบบเจาะจง สำหรับการทดลองแบบรายบุคคล จำนวน 3 คน ทดลองแบบกลุ่มเล็กจำนวน 9 คน และทดลองแบบกลุ่มใหญ่จำนวน 30 คน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ตอนที่ 3 ได้แก่ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) ตอนที่ 4 ได้แก่ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 2) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรับรองรูปแบบการสอน จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) แบบประเมินคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) แบบทดสอบหลังเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก่อน-หลัง (Pre-test & Post-test) การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6) รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 7) แผนการจัดการเรียนรู้ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 9) แบบประเมินและรับรองรูปแบบการสอนการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรมการคำนวณสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) ค่าทีแบบไม่อิสระ( t-test dependent )และค่าประสิทธิภาพ ( E1 / E2 )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 100 คน พบว่านักเรียนร้อยละ 61 มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับต่ำ ปัญหาที่สำคัญที่ทำให้นักเรียนขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์นั้นมาจากการจัดการเรียนการสอนของครูที่ไม่เอื้อต่อการฝึกคิด โดยครูมีสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และครูมีความต้องการในการจัด การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับมากที่สุด
2. รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5) การวัดผลประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ตระเตรียม ขั้นตอนที่ 2 ต่อเติม ขั้นตอนที่ 3 ตรึกตรอง 3.1) ขั้นครูพาคิด 3.2)ขั้นคิดเอง ขั้นตอนที่ 4 ตรวจตรา และขั้นตอนที่ 5 ติดตาม รูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพ ( E1 / E2 ) เท่ากับ 82.54 / 83.62
3. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนเทศบาล ๕ (กระดาษไทยอนุเคราะห์) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่ารูปแบบการสอนมีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด