ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
หน่วยการเรียนรู้ หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา นางสาวกมลทิพย์ โคตรนรินทร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
โรงเรียนบ้านศรีสุข อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช
2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช
3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านศรีสุข ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จำนวน 10 คน เครื่องมือ ในการศึกษาประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ เปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียน หลังเรียนใช้ค่าสถิติ t test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 82.90 / 83.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านศรีสุข สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ หน่วยของสิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิตของพืช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 0.7572 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.72