บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมปัญญา
ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
ชื่อผู้ศึกษา นางแดง กิติเงิน
ปีการศึกษา 2560
รายงานผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เสริมปัญญา ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ระหว่างการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์
เสริมปัญญา และศึกษาผลการเปรียบเทียบพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ ก่อน หลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เสริมปัญญา จำแนกรายด้านและภาพรวมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้า ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลปางมะผ้าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29 คน การศึกษาโดยใช้รูปแบบการทดลองกับประชากรกลุ่มเดียว (One Group Pretest-Postest Design) คือ ดำเนินการประเมินการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทั้ง 3 ด้าน คือด้านความคิดคล่องแคล่ว, ด้านความคิดริเริ่ม,ด้านความคิดละเอียดประณีต,ก่อนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เสริมปัญญาด้วยแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เสริปัญญาจำนวน 27 กิจกรรม จึงทำการประเมินความคิดสร้างสรรค์ด้วยแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ ชุดเดียวกันเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาได้แก่คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เสริมปัญญาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 27 กิจกรรม แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เสริมปัญญา เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน27 แผนและแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ชั้นอนุบาลปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาด้วยค่าเฉลี่ย (µ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการศึกษา และค่าร้อยละ พบว่า
สรุปผลการศึกษา ดังนี้
1. ผลการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ระหว่างการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เสริมปัญญา พบว่า พฤติกรรมรายด้านและภาพรวมได้ ด้านความคิดคล่องแคล่ว ความคิดริเริ่ม ความคิดละเอียดประณีต และภาพรวมในสัปดาห์แรกที่มีการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เสริมปัญญา นักเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ (1.70, 1.69, 1.64 และ 1.68 ตามลำดับ) เมื่อนักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ขึ้นไปมีพัฒนาการด้านความคิดสร้างสรรค์จำแนกรายด้านและภาพรวมดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ จนถึงสัปดาห์ที่ 9 นักเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนระดับเฉลี่ยที่ 2.93, 2.92, 2.93 และ 2.93ตามลำดับ เมื่อพิจารณาถึงคะแนนระดับเฉลี่ยทั้ง 9 ช่วงสัปดาห์ ปรากฏว่า นักเรียนมี ผลการประเมินรวมเฉลี่ยสูงกว่าสัปดาห์ที่ 1 ทุกรายด้านและภาพรวม
2. ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังกิจกรรมสร้างสรรค์เสริมปัญญาจำแนกรายด้าน และภาพรวม ได้ผลดังนี้ คะแนนหลังการจัดกิจกรรมความคิดคล่องแคล่ว ความคิดริเริ่ม ความคิดละเอียดประณีต และภาพรวม คือ 4.03, 4.01, 4.05 และ 4.03 ตามลำดับ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ 1.52, 1.54, 1.59 และ 1.55 ตามลำดับ แสดงว่า คะแนนจากการทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรมมีความแตกต่างกันร้อยละ50.20, 49.40, 49.20 และ 49.60 ตามลำดับ