สรุปการสร้างองค์ความรู้และจัดทำรายงานการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนี้ ข้าพเจ้าได้ศึกษากรอบหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้มีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ และได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากตำรา เอกสาร บทความ งานวิจัย สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในหน่วยการเรียนรู้ตามแนวทางของหลักสูตรพัฒนาฯ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เทคนิคการออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
1. การวิเคราะห์และพัฒนาหลักสูตร
2. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและบริบทของสถานศึกษา
3. การออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ภาวะผู้นำทางวิชาการ
1. การเป็นผู้นำทางวิชาการ
2. การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
3. นวัตกรรมการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่
4. จิตวิทยาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
5. การให้คำปรึกษา คำแนะนำ และข้อเสนอแนะ
ส่วนที่ 2 การสังเคราะห์บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและวางแผนพัฒนาคุณภาพ การปฏิบัติงานของครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ความเป็นครู
1. พัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นครู เพื่อสร้างคุณธรรมจริยธรรม
2. วินัยและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
3. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1. การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
2.การวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
3.การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
จากประเด็นหัวข้อใหญ่ทั้ง 2 ส่วน ข้างต้น จึงได้นำมาสรุปการศึกษาดังรายละเอียดเป็นเพียงสังเขปดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เทคนิคการออกแบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียน
1. การวิเคราะห์และการพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตร ถือเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทางการจัดการศึกษา เพื่อที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคมได้ การจัดการ ศึกษาที่ดีจึงควรมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพชีวิตและสังคมของผู้เรียน
วิธีการ หรือ การวิเคราะห์ที่จะนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์นั้น ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ Taba (Taba. 1962 : 67) 7 ขั้นตอนดังนี้
1. การวินิจฉัยความต้องการ (diagnosis of needs) ผู้พัฒนาหลักสูตร (ครู) จะต้องวินิจฉัยประสบการณ์ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเพื่อมากำหนดเนื้อหาของหลักสูตร
2. การกำหนดวัตถุประสงค์ (formulation of objectives) ใช้กำหนดเนื้อหาว่าจะมีความเฉพาะเจาะจงเพียงใดและวิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
3. การเลือกเนื้อหา (selection of content) เนื้อหาที่เลือกมานั้นจะต้องมีความตรง (validity) ตามวัตถุประสงค์และมีนัยสำคัญ (significance) ต่อผู้เรียน
4. การจัดองค์ประกอบของเนื้อหา (organization of content) นำมาจัดเรียงลำดับ (sequence) โดยใช้เกณฑ์หรือระบบบางอย่าง ทั้งยังจะต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงและการเน้น (focus) ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ที่จะสอนและระดับของผู้เรียน
5. การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ (selection of learning experiences) จะต้องพิจารณาเรื่องของการจัดเรียงลำดับประสบการณ์ และจะต้องเลือกวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จะสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับเนื้อหาตามวัตถุประสงค์
6. การจัดองค์ประกอบของประสบการณ์การเรียนรู้ (organization of learning experiences) พัฒนากระบวนการสร้างมโนทัศน์ (strategic of concept attainment) และคำนึงถึงคำถามสำคัญ ได้แก่ จะทำอย่างไรให้เนื้อหาสาระสอดคล้องกับประสบการณ์และความสนใจของผู้เรียน และจะทำอย่างไรให้การจัดประสบการณ์ การเรียนรู้สอดคล้องและตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
7. การวินิจฉัยว่าสิ่งที่จะประเมินคืออะไรและจะใช้วิธีการและเครื่องมือใดในการประเมิน (determination of what to evaluate and of the ways and means of doing it) โดยจะต้องตอบคำถามว่า จะประเมินคุณภาพของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้อย่างไรและจะใช้เครื่องมือและวิธีการใดในการประเมิน
2. การออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและบริบทของสถานศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา 24 ระบุว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้
มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น
ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
5. ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและ
อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย
เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อ
การเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา
มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา 24 กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ที่จะต้องดำเนินการแนวทาง 6 ประการ หรือเท่าที่
จะสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์และลักษณะของวิชา
3. การออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กําหนดวา การวัดและประเมินผล การเรียนรูเปนกระบวนการพัฒนาปรับปรุงการเรียนรูของผูเรียน และตัดสินวาผูเรียนมีความรู ทักษะความสามารถ คุณลักษณะอันพึงประสงคอันเปนผลมาจากการเรียนการสอนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู/ ตัวชี้วัดในระดับใด สามารถที่จะไดรับการเลื่อนชั้นหรือจบการศึกษาไดหรือไม โดยควรมีสาระตอไปนี้เปนอยางนอย ๑. หลัก
การดําเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรูของสถานศึกษา 2. การตัดสินผลการเรียน ๓. การใหระดับผลการเรียน ๔. การรายงานผลการเรียน ๕. เกณฑการจบการศึกษา ๖. เอกสารหลักฐานการศึกษา ๗. การเทียบโอนผลการเรียน
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กำหนดระดับของการดำเนินงานไว้เป็น ๔ ระดับ คือ การวัดและประเมินระดับชั้นเรียน การวัดและประเมินระดับสถานศึกษา การวัดและประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา การวัดและประเมินระดับชาติ ระดับที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้สอนมากที่สุดและเป็นหัวใจของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียน คือ การวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน
คำศัพท์ที่ใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนมีความหมายแตกต่างกัน แต่บางคนนำมาใช้ในความหมายเดียวกัน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันจึงให้นิยามคำศัพท์ต่างๆไว้ดังนี้
การวัด (Measurement) หมายถึง การกำหนดตัวเลขให้กับวัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ หรือพฤติกรรมต่างๆ ของผู้เรียน ซึ่งการจะได้มาซึ่งตัวเลขนั้น อาจต้องใช้เครื่องมือวัด เพื่อให้ได้ตัวเลขที่สามารถแทนคุณลักษณะต่างๆ ที่ต้องการวัด เช่น ไม้บรรทัดวัดความกว้างของหนังสือได้ ๓.๕ นิ้ว ใช้เครื่องวัดน้ำหนักของเนื้อหมูได้ ๐.๕ กิโลกรัม ใช้แบบทดสอบวัดความรอบรู้ในวิชาภาษาไทยของเด็กชายแดงได้ ๔๒ คะแนน เป็นต้น
การประเมิน (Assessment) หมายถึง กระบวนการเก็บข้อมูล ตีความ บันทึก และใช้ข้อมูลเกี่ยวกับคำตอบของผู้เรียน ที่ทำในภาระงาน/ ชิ้นงาน ว่าผู้เรียนรู้อะไร สามารถทำอะไรได้ และจะทำต่อไปอย่างไร ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย
การประเมินค่า/การตัดสิน (Evaluation) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการวัดหลายๆ อย่างมาเป็นข้อมูลในการตัดสินผลการเรียน โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ (criteria) ที่สถานศึกษากำหนด เพื่อประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าผู้เรียนมีความเก่งหรืออ่อนเพียงใด บรรลุเป้าหมายที่ต้องการมากน้อยเพียงใด ซึ่งคือการสรุปผลการเรียนนั่นเอง
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ ภาวะผู้นำทางวิชาการ
1. การเป็นผู้นำทางวิชาการ
ผู้นำทางวิชาการ คือ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี ปรัชญาของหลักสูตรต่างๆที่ใช้ในสถานศึกษา มีความรู้ความเข้าใจในวิธีสอนแบบต่าง ๆ ใช้นวัตกรรมการสอนเป็นแบบอย่างที่ดีในเชิงวิชาการ พัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของโรงเรียน จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้เป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ การจะก้าวสู่ความเป็นผู้นำทางวิชาการได้นั้นจำเป็นจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติภารกิจในบทบาทต่าง ๆ อย่างหลากหลายทั้งนี้เพราะผู้นำทางวิชาการย่อมจะต้องเปี่ยมไปด้วยความรู้ความสามารถ และความเท่าทันในองค์ความรู้ต่าง ๆ กล่าวคือ
1. ผู้นำทางวิชาการจะต้องเป็นครูมืออาชีพนั่นคือ มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการจัดการเรียนรู้ มีความรอบรู้ในหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวิธีการในการประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างเหมาะสมและเกิดผลดีต่อผลการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ มีความรอบรู้ด้านวิชาการ หลักสูตร ปรัชญาการศึกษา หลักจิตวิทยาด้านต่างๆ ตลอดจนวิทยาการใหม่ๆ มีทักษะในการครองตน ครองคน และครองงาน ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบของความรู้ความเข้าใจ
2. ผู้นำทางวิชาการจะต้องมีความสามารถในการบริหารความเปลี่ยนแปลง
3. ผู้นำทางวิชาการจะต้องเป็นครูนักพัฒนาหลักสูตร โดยในการพัฒนาหลักสูตรนั้นจะต้องคำนึงถึง
สิ่งต่างๆ เช่น
 มีเป้าหมายหรือมาตรฐานคุณภาพผู้เรียนกำหนดไว้ชัดเจนและยืดหยุ่นในการปฏิบัติ
 การพัฒนาหลักสูตรต้องทันต่อความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการ เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีแก่ผู้เรียน
 สิ่งที่กำหนดในการเรียนการสอนต้องช่วยเตรียมผู้เรียนเพื่อการดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกไร้พรมแดน
 หลักสูตรต้องส่งเสริมการพัฒนาผู้เรียนในองค์รวม
 สิ่งที่กำหนดในหลักสูตรควรเชื่อมโยงและสอดคล้องกับชีวิตจริง
 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการตรวจสอบและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุตามเป้าหมายของหลักสูตร
2. การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวน การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้
1. ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น ห้องเรียนที่ไม่คับแคบจรเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม
2. ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด ที่จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียนนักศึกษา ฯลฯ
4. ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
5. ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน ฯลฯ
6. ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียนมีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียนและนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่าการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกายอารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดีทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุขรักและเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้
3. นวัตกรรมการบริหารจัดการในชั้นเรียนแนวใหม่
การบริหารการจัดชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูมีบทบาทในการบริหารจัดการในชั้นเรียน โดยการจัดกิจกรรม บรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าเองโดยครู ช่วยแนะนำและช่วยออกแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถประเมินความ ก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง รวมถึงการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกน ปรับบทบาทจากครูผู้สอนมาเป็นโค้ช (Coach) และเป็นผู้อำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ โดยการค้นคว้าอย่างอิสระ ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) มีการใช้กลยุทธ์เชิงสร้างสรรค์ในการจัดชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และเพื่อที่จะช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความรู้ ทักษะและคุณลักษณะ สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้แนวคิดการเรียนการสอนแบบ Teach Less, Learn More และทฤษฏีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivist Learning) ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้าง ความรู้ที่เป็นของตนเองขึ้นมาจากความรู้ที่มีอยู่เดิมหรือจากความรู้ที่ได้รับเข้ามาใหม่ เกิดความคิดสร้างสรรค์ การจัดชั้นเรียนในศตวรรษที่ 21 จึงควรบูรณาการการเรียนรู้ในลักษณะองค์รวมด้วยรูปแบบหรือวิธีการ ที่หลากหลาย เน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้จากธรรมชาติ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง รวมถึงการประเมินผลการเรียนรู้จากการปฏิบัติตามสภาพความเป็นจริงอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย
 ขั้นวางแผน ครูผู้สอนวิเคราะห์ผู้เรียนและเนื้อหาวิชาที่สอนเพื่อจะเลือกรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อม หรือบูรณาการการเรียนรู้โดยใช้สถานที่ภายนอกห้องเรียน สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ใช้ วิธีการสืบสอบ คิด วิเคราะห์ ประเมิน ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง โดยกระบวน การคิดอย่างเป็นระบบ วางแผนเป้าหมายที่แสดง ความสำเร็จของการทำงาน
 ขั้นดำเนินการสอน ครูผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้ โดยครูเป็นผู้ชี้แจงกติกาการเรียนรู้ ร่วมกัน เป็นผู้คอยชี้แนะและควบคุมชั้นเรียน ซึ่งการชี้แจงกฎ กติกา และเป้าหมายปลายทางเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้ ผลการเรียนรู้ขณะเดียวกันเป็นการสร้างบรรยากาศและแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ในการค้นหาค้าตอบจาก บทเรียน
 ขั้นสรุปบทเรียน ครูผู้สอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนสะท้อนบทเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้น้าเสนอสิ่งที่ได้ค้นคว้าตามที่ ได้เรียนรู้จากสภาพความเป็นจริง
 ขั้นประเมินผล ครูผู้สอนท้าการทดสอบหลังเรียนพร้อมทั้งแจ้งผลการทดสอบให้ทุกคน ทราบ เป็นกระบวนการตรวจสอบความรู้ ทักษะ และเจตคติของผู้เรียนที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามวัตถุ ประสงค์ ทั้งยังช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนได้อย่างต่อเนื่อง การบริหารจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ ควรเอื้อต่อหลักสูตรและเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นจึงไม่จำกัด เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังมีแหล่งการเรียนรู้ภายนอกห้องเรียน การจัดสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ และกระบวนการเรียนรู้ส่งผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อตัวผู้เรียนให้เกิดทักษะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ต่อไป
4. จิตวิทยาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมในลักษณะที่ถาวร การที่จะเกิดพฤติกรรมการ เปลี่ยนแปลงได้นั้น ต้องอาศัยประสบการณ์และการฝึกฝน แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของ วิลเฮล์ม วุ้นท์ เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์เกิดจากการทํางานของโครงสร้างทางจิตของแต่ละคนมาเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของจิตสํานึก ซึ่งเป็นสิ่งที่เรารู้ตัว แต่ละคนจะมี ประสบการณ์ที่แตกต่างกัน วิธีการแสดงออกถึงโครงสร้างจิตของแต่ละบุคคลนั้น มีการแสดงออกโดยการบ่งบอกถึงการ รู้สึกสัมผัส ความรู้สึก ความนึกคิด ความรู้สึกชอบ ความรัก และความผูกพันที่แตกต่างกันไป
บุคคลมีความสามารถในการเรียนรู้แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัยต่างๆมากมาย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ได้แก่ 1.ตัวผู้เรียน (Learning) 2.บทเรียน หรือลักษณะของงาน (Task Variables) 3.วิธีการเรียนการสอน (Method of Learning) 4.ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning) 5.สิ่งแวดล้อม (Environment) สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้และส่งเสริมการเรียนรู้มีหลายลักษณะ สามารถพิจารณาได้ดังนี้ 1.ตัวผู้เรียน (Learners) หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้เรียนรู้ ไม่ได้หมายความถึงเฉพาะนักเรียนในสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่ หมายรวมถึง ผู้ได้รับการอบรม ผู้ฝึกการปฏิบัติงานใหม่ ซึ่งอาจอยู่ในสถานประกอบการหรือหน่วยอบรมต่างๆด้วย การเรียนรู้ให้ได้ผลดีนั้น ตัวผู้เรียนเป็นปัจจัยสําคัญที่สุด แม้ว่าปัจจัยอื่นๆจะดีเพียงใด แต่ถ้าผู้เรียนไม่อยากเรียน หรือเรียนไม่ได้ การเรียนรู้นั้นย่อมไม่ประสบผล องค์ประกอบที่สําคัญเกี่ยวกับผู้เรียนได้แก่ 1)ระบบประสาท เป็นตัวจักรสําคัญที่ทําให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการรับรู้ และการรับความรู้สึก การ คิด การเชื่อมโยง ประสบการณ์ ความจํา กระบวนการเหล่านี้ อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาททั้งสิ้น ถ้าระบบประสาทหรือสมอง บกพร่องไป จะส่งผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์โดยตรง ทําให้การเรียนรู้มีขอบเขตแคบและเรียนรู้ได้ยากลําบาก 2)วุฒิภาวะและความพร้อม (Maturation and Readiness) วุฒิภาวะ หมายถึง การเจริญเติบโตตามลําดับขั้น คือ การเจริญเติบโตโดยธรรมชาติเป็นระดับความเจริญด้านใดด้านหนึ่ง ที่จะกระทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ในระยะ เวลาใดระยะเวลาหนึ่ง ความสามารถที่จะทําอะไรได้เองตามธรรมชาติอันเหมาะสมกับวัยของตน ไม่ใช่ ความ สามารถที่เกิดจากการเรียนรู้หรือการฝึกฝน
ความพร้อม หมายถึง ความสามารถของบุคคลที่จะดําเนินกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอย่างได้ผลดีในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่ง ความพร้อมนั้นประกอบไปด้วยวุฒิภาวะทางกาย (วุฒิภาวะทางกาย หมายถึง ความเจริญของระบบอวัยวะต่างๆ เช่น ความเจริญของ ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้ อ ต่อม ฯลฯ) ผสมผสานกับสภาพ การณ์อื่นๆ เช่น ความสนใจ แรงจูงใจ ประสบการณ์เดิม ความต้องการ สุขภาพจิต ฯลฯ
5. การให้คำปรึกษา คำแนะนำ และข้อเสนอแนะ
การให้คำปรึกษาเป็นการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้คำปรึกษากับผู้รับคำปรึกษาโดยการให้คำปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาได้รู้จักและเข้าใจตนเอง สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง สามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้และดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมสำหรับการให้คำปรึกษาในโรงเรียนก็เช่นกัน ครูที่ปรึกษาเป็นบุคคลที่สำคัญ ที่สามารถให้คำปรึกษาแก่นักเรียน เพราะเป็นบุคคลที่นักเรียนให้ความไว้วางใจ และมีความใกล้ชิดกันมากที่สุด ดังนั้น ก่อนที่ครูที่ปรึกษาจะหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้คำปรึกษาแก่นักเรียนนั้น ครูที่ปรึกษาควรทราบถึงความมุ่งหมายของการให้คำปรึกษาแก่นักเรียน การให้คำปรึกษาทางวิชาการเป็นกระบวน การให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือด้านวิชาการ การชี้แจงหลักสูตร การลงทะเบียน การวางแผนการเรียน การวัดผล การเพิ่มเติมรายวิชา การพ้นสภาพ การโอนย้ายแผนกวิชา การติดตามผลการเรียน การแนะนำการเรียน การศึกษาต่อเทคนิคการให้คำปรึกษา เป็นกระบวนการช่วยเหลือให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง สภาพแวดล้อม ปัญหาที่เผชิญอยู่ และสามารถใช้ความเข้าใจดังกล่าวมาแก้ปัญหา หรือตัดสินใจเลือกเป้าหมายในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับตนเอง ดังนั้นการให้คำปรึกษาทางวิชาการ ครูจะต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับหลักสูตร และข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้มีความพร้อมในการให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักเรียนได้ถูกต้องและมีความมั่นใจควรจัดทำแฟ้มประวัตินักเรียน ตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกสภาพนักเรียน วิเคราะห์ผลการเรียนประสานข้อมูลกับผู้ปกครองและตรวจสอบการจบการศึกษาในแต่ละช่วงชั้น ประสานงานกับฝ่ายกิจการนักเรียน งานแนะแนวการศึกษาของสถานศึกษานำข้อมูลมาจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดูแลกิจกรรมก่อนเข้าเรียน ให้คำปรึกษา เสนอแนะ อบรมตักเตือน ควบคุมและติดตามผลการเรียนให้ปฏิบัติอยู่ในระเบียบของโรงเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ ความเป็นครู
1. พัฒนาจิตวิญญาณของความเป็นครู เพื่อสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม
1. ทำการสอน อบรมนักเรียน ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ คำสั่ง ประกาศและนโยบายของทาง ราชการ
2. เอาใจใส่ในการสอน ปรับปรุงการเรียนการสอนให้สม่ำเสมอ
3. ส่งเสริมและเผยแพร่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
4. อบรมสั่งสอนและเผยแพร่ความรู้ ปลูกฝังวัฒนธรรม ค่านิยม เอกลักษณ์ไทย
5. ส่งเสริมความสามัคคีในหมู่ครูและนักเรียน
6. เอาใจใส่ในการปฏิบัติงานในหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ทอดทิ้งหรือละทิ้งหน้าที่การงาน
7. ช่วยเหลือกิจการของโรงเรียนและรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
8. ศึกษาหาความรู้ วิธีการสอน วิธีประเมินผล การใช้หนังสือเรียนและคู่มือการเรียนการสอนตามหลักสูตร
2. วินัยและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
1. ครูต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
2. ครูต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น
3. ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
4. ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถือประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
5. ครูต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง
6. ครูต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
7. ครูต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ
8. ครูต้องไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง
9. ครูต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
10. ครูต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
11. ครูต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
12. ครูต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด
13. ครูต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว
จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
1. ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
2. ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อ
การพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
3. ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
4. ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
5. ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
6. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หรือผู้รับบริการ
7. ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
8. ครูต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
๙. ครูต้องประสงค์ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา
ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง มีหลักพิจารณา ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนาคุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่าง
มีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลง
ด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกลเงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานกล่าวคือ 1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ 2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตแนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ การวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
1. การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะสำเร็จได้ก็ด้วยความเอาใจใส่ของผู้จัดการเรียนรู้อย่างจริงจัง โดยต้องเริ่มจากการเปลี่ยนแนวคิดในการปฏิรูปการเรียนรู้ พร้อม ๆ กับการให้ความรู้สร้างความเข้าใจให้กับครูผู้สอน ทั้งนี้เพราะการมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความสำคัญของผู้เรียนจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้ โดยที่ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้แนะนำครูผู้สอน โดยการสร้างความตระหนัก ในความสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้ร่วมกันวางแผนปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาร่วมกัน มีการกำหนดเป้าหมาย คุณภาพของผู้เรียนกำหนดมาตรฐานคุณภาพ มีการวางแผนบริหารจัดการให้มีการกำหนดระบบงาน สร้างกลไกความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการปรึกษาหารือ เพื่อให้บุคลากรทุกคนเห็นพ้องต้องกันแล้วจึงมอบหมายงานตามบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของแต่ละคน ขณะเดียวกันก็ร่วมกันคิดกลวิธีหรือกลยุทธ์ เพื่อหาทางพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียน
1. การวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
การวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2553 น.22-23) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ 2552-2562) โดยมีเป้าหมายภายในปี 2561 มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นประเด็นหลัก 3 ประการ คือ 1) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย 2) เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล โดยมีจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนผ่านยุทธศาสตร์ที่มีความคลอบคลุมทั้งการพัฒนางานวิชาการการบริหารจัดการ การบริหารจัดการ สร้างเครือข่ายการทำงาน และการทำงานและการกำกับติดตาม ใน 4 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ โดยเน้นความสำคัญของทักษะจำเป็นพื้นฐานตามจุดเน้นที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 กระตุ้น เร่งรัด ส่งเสริมสนับสนุน การนำจุดเน้นไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมทุกรูปแบบ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความพร้อมให้กับครู บุคลากร ทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนในการนำจุดเน้นสู่การปฏิบัติ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความเข็มแข็งของการกำกับ ติดตาม และประเมินผลให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียน
2. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
การวิจัยในชั้นเรียน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Classroom Research คือกระบวนการหาความรู้หรือวิธีการใหม่ ๆ รวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนการสอนในชั้น เรียนของตนเอง หรือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน ผลการวิจัยใช้ได้เฉพาะกลุ่มที่ทำการศึกษา บางทีเราเรียกว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) หรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ผู้ทำวิจัยในชั้นเรียนคือ ครูผู้สอน การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้มีขั้นตอนดังนี้
1.วิเคราะห์ปัญหา/การพัฒนา
2.วางแผนแก้ปัญหา/การพัฒนา
3.จัดกิจกรรมแก้ปัญหา/การพัฒนา
4.เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
5.สรุปผลการแก้ปัญหา/การพัฒนา
ครูผู้สอนจะเริ่มต้นด้วยวิธีง่าย ๆ คือ สอนไปสังเกตไป ว่าผู้เรียนคนไหนมีจุดเด่น จุดด้อยตรงไหน แล้วพยายามบันทึกไว้จากนั้นสรุปข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าเด็กในชั้นมีกลุ่มเก่งกี่คนกลุ่มอ่อนกี่คน ใครบ้างที่เรียนอ่อน อ่อนในเรื่องอะไร เพื่อจะได้คิดหานวัตกรรมที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือกลุ่มอ่อนต่อไป รายงานผลการวิจัยในชั้นเรียนเขียนขึ้นเมื่อครูผู้สอนเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วครูผู้สอนต้องเขียนสรุปผลการวิจัย หากพบว่าผู้เรียนไม่เกิดการเรียนรู้ และ/หรือมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ครูผู้สอนอาจต้องทำวิจัยในชั้นเรียนซ้ำอีกครั้งหรือหลาย ๆ ครั้ง จนกว่าผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ และ/หรือมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ตามเจตนารมณ์ตามหลักสูตรอย่างแท้จริง
แนวทางการประยุกต์สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการจัดการสอน พัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องด้วยการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน