คำสำคัญ : การพัฒนาชุดการเรียนรู้/เศรษฐกิจพอเพียง
นางสุกัญญา เกื้อสุข : การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านขัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดการเรียนรู้ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้ชุดการเรียนรู้และ 4) ประเมินและปรับปรุงแก้ไขชุดการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านขัน จำนวน 23 คน ทดลองใช้ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ระยะเวลา 12 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง คือ One Group Pretest - Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ได้แก่
1) แบบสอบถามความคิดเห็น 2) ชุดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจ
พอเพียง ก่อนและหลังใช้ชุดการเรียนรู้ และ4) แบบประเมินผลงานนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t - test แบบ Dependent
และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นว่าชุดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีตัวอย่างกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง มีเนื้อหาที่ให้ความรู้มีภาพประกอบและสีสันสวยงาม มีการวัดผลประเมินผลหลังชุดการเรียนรู้แต่ละชุด
2. ชุดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ประกอบด้วย คำนำวัตถุประสงค์ คำชี้แจงในการใช้ชุดการเรียนรู้บทบาทของนักเรียน ใบความรู้ ใบงาน แบบทดสอบ
ชุดการเรียนรู้) ชุดการเรียนรู้มี 3 ชุด คือ 1) ประวัติความเป็นมา และความหมายของเศรษฐกิจ
พอเพียง 2) ระบบและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียง 3) การประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน และชุดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 81.01/85.80
3. ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักเรียน เรียนรู้จากชุดการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงด้วยตนเอง โดยศึกษาจากคู่มือนักเรียนโดยมีครูเป็นผู้คอยให้ คำแนะนำชี้แนะซึ่งนักเรียนมีความสนใจในการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียน
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลการเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการใช้ชุดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยหลังการใช้ชุดการเรียนรู้ นักเรียนมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้ชุดการเรียนรู้ นักเรียนมีความสามารถในการประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันอยู่ในระดับสูง นักเรียนมีความเห็นต่อชุดการเรียนรู้ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีความเห็นว่านักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงและสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้