ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนา นายกพิทยากร
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7
ผู้รายงาน เกศินี เพ็ชรรุ่ง
โรงเรียน โรงเรียนบ้านนา นายกพิทยากร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 7
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนที่เรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านนานายกพิทยากร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 45 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (วิชาเพิ่มเติม) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.53 ถึง 0.73 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.33 ขึ้นไป มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.89 และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄ ) และค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และค่า t test (Dependent)
ผลการพัฒนาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้รายงานพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.03/85.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.58, S.D. = 0.55)
โดยสรุป การจัดการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง พหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพสูงสามารถนำไปใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้ของนักเรียน และใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรูัคณิตศาสตร์สำหรับครู และผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดการศึกษา ในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น