ชื่อเรื่อง : รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน: นางสาวกีรติกร วงศ์รวีกีรติ
ตำแหน่ง: ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนบ้านท่าเล่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
ปีที่ศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้ ผู้รายงานพัฒนาขึ้นตามวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ
การอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าเล่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 9 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากผู้รายงานเป็นครูผู้สอนประจำวิชา เครื่องมือที่ใช้พัฒนา ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ดำเนินการพัฒนาเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐาน สถิติเพื่อตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ สถิติเพื่อหาประสิทธิภาพ และสถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐาน หาค่า t (t-test แบบdependents samples)
ผลการพัฒนา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมมีค่าเท่ากับ 86.03/85.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.45 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.53