ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา
เรื่อง การคูณ
ผู้วิจัย นางชุลีภรณ์ นิลสุวรรณ
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เกี่ยวกับทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณ (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณ (4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา ระหว่างก่อนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาลสวนสนุก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยการจับสลากเลือกมา 1 ห้องเรียน เนื่องจากนักเรียนแต่ละห้องเรียน มีผลการเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน ใกล้เคียงกันทุกห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้และคู่มือการใช้รูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบปรนัยเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20-0.80 มีค่าอำนาจจำแนก 0.20 ขึ้นไป และมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.809 (3) แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา ซึ่งเป็นโจทย์ปัญหา แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์สภาพปัญหาการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เกี่ยวกับทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณ โดยใช้แบบประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง ทั้งแบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า มีความสอดคล้อง โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 1.00 ทุกรายการ
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณ มีประสิทธิภาพ 89.89/87.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.75 หรือคิดเป็นร้อยละ 75
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณ หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ที่เรียนกลุ่ม
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณ หลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีคอนสตรัคติ-วิสต์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง การคูณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.38