บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เคมี เรื่อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เคมี เรื่อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ปีการศึกษา 2560โรงเรียน
เฉลิมพรเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้และชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 9 ชุด ได้แก่ ชุดกิจกรรมที่ 1กำเนิดถ่านหิน หินน้ำมัน ชุดกิจกรรมที่ 2 เชื่อมสัมพันธ์กับปิโตรเลียม ชุดกิจกรรมที่ 3 ยอดเยี่ยมแก๊สธรรมชาติ ชุดกิจกรรมที่ 4เก่งกาจกับพอลิเมอร์น่ารู้ ชุดกิจกรรมที่ 5 รอบรู้เรื่องพลาสติก ชุดกิจกรรมที่ 6สนุกคิดเส้นใย ชุดกิจกรรมที่ 7 ใส่ใจเรื่องยาง ชุดกิจกรรมที่ 8 ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี (ของผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์สังเคราะห์) ชุดกิจกรรมที่ 9 พาชีวีปลอดมลภาวะและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เคมี เรื่อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ แบบเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.32 0.61 และ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 0.58 ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ คือ นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เคมี เรื่อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านกระบวนการหาคุณภาพแล้วไปทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างตรวจให้คะแนนบันทึกผลไว้ แล้วจึงดำเนินการทดลองกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ จำนวน 9 ชุด โดยแต่ละชุด ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลหลังเรียน ตรวจให้คะแนนบันทึกผลไว้ เมื่อจัดกิจกรรมครบ 22 ชั่วโมง แล้วผู้วิจัยนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เคมี เรื่อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ชุดเดิม ไปทำการทดสอบอีกครั้ง ตรวจให้คะแนนบันทึกผลไว้ แล้วจึงนำคะแนนจากการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนทุกชุดและคะแนนจากการทำแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เคมี ทั้งก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนมาวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกกิจกรรมการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เคมี เรื่อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ โดยใช้สถิติ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัย พบว่า
1. กิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวม 86.67/87.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ เท่ากับ 86.67 และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เท่ากับ 87.00 เมื่อพิจารณาเป่นรายชุดกิจกรรม พบว่าประสิทธิภาพของกระบวนการ มีค่าอยู่ระหว่าง 86.67 90.00 โดยชุดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพของกระบวนการสูงสุดคือ ชุดที่ 2และชุดที่ 4 มีค่าเท่ากับ 90.00 และชุดที่มีประสิทธิภาพของกระบวนการต่ำสุดคือ ชุดที่ 9 มีค่าเท่ากับ 84.00
2. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ที่พัฒนาขึ้นมีค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.4493 แสดงว่าผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.93
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเคมี ของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก