ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง ASEAN Studies กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย พิมพ์พิศา ยวงทอง
คำสำคัญ การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม , ASEAN Studies, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน,
ความคิดเห็น
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง ASEAN Studies กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง ASEAN Studies กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ASEAN Studies กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียนและเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หลักสูตรสาระเพิ่มเติมเรื่อง ASEAN Studies กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนามี3ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง ASEAN Studies กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่าง ประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสมของหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร โดยการหาค่าเฉลี่ย(mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard) 2) การทดลองใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ASEAN Studies กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปทุมมาศวิทยา อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 38 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง ASEAN Studies กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการเรียนด้วยหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม เรื่อง ASEAN Studies กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard) และการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง ASEAN Studies
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า หลักสูตรมีองค์ประกอบ 5 ประการคือ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน การนำหลักสูตรไปใช้ การวัดและประเมินผล ได้ส่วนประกอบของหลักสูตรทั้งหมดที่ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ ผังมโนทัศน์ เนื้อหาหลักสูตร เวลาเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน การวัดและประเมินผลและเกณฑ์การจบหลักสูตร ผลการสอบถามความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนต้องการเรียนในสาระเรื่องประวัติความเป็นมาของ ASEAN ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอาเซียน สัตว์ประจำชาติอาเซียน ประเพณีที่มีชื่อเสียงของอาเซียน กฎบัตรอาเซียน ประเทศสมาชิกและประชาคม ความมั่นคงของอาเซียน ประชาคมความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอาเซียน สังคม-วัฒนธรรมของอาเซียน ตามลำดับ ในด้านกิจกรรมการเรียนรู้ในหลักสูตร พบว่า นักเรียนต้องการศึกษาจากใบความรู้ ปฏิบัติกิจกรรมในใบงาน ปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม ปฏิบัติกิจกรรมเป็นคู่ การแสดงบทบาทสมมติและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า นักเรียนต้องการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ การตรวจผลงาน ชิ้นงาน ภาระงาน การสอบถาม การสัมภาษณ์ แฟ้มสะสมงาน ด้านผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนต้องการให้มีการประเมินโดยครูผู้สอน เพื่อนประเมินตนเอง ด้านสื่อการเรียนรู้ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ต้องการภาพประกอบ แหล่งเรียนรู้ในอินเตอร์เน็ต เอกสาร ใบความรู้ ใบงาน เพลง เกม ตามลำดับ โดยมีข้อแนะนำเพิ่มเติมว่ากิจกรรมการเรียนรู้เรื่องอาเซียนควรมีภาพประกอบมากๆ เพื่อให้เข้าใจ เนื่องจากการเรียนภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก การมีภาพประกอบจะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น
2. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง ASEAN Studies
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าหลักสูตรมีองค์ประกอบดังนี้ 1. หลักการและเหตุผล 2. วิสัยทัศน์ 3. พันธกิจ 4. จุดมุ่งหมาย 5. คำอธิบายรายวิชา 6. ผังมโนทัศน์ 7. โครงสร้างหลักสูตร 8. เวลาเรียน 9. กิจกรรมการเรียนรู้ 10. แหล่งการเรียนรู้และสื่อประกอบการเรียน 11. การวัดและ12. เกณฑ์การจบหลักสูตร โดยมีเอกสารประกอบการใช้หลักสูตร ประกอบด้วยคู่มือครูและคู่มือนักเรียน โดยคู่มือครู ประกอบด้วย คำชี้แจง หน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน ส่วนคู่มือนักเรียน ประกอบด้วย คำชี้แจง เอกสารประกอบการเรียน (ใบความรู้/ใบงาน) และแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน ผลการประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง ASEAN Studies มีความเหมาะสมมากที่สุด เอกสารประกอบการใช้หลักสูตรมีความเหมาสมมากที่สุดและมีผลการทดลองหาประสิทธิภาพของหลักสูตรตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 = 80/80 ในการทดลองแบบกลุ่มเล็ก (1:1) มีค่าเท่ากับ 77.97/74.44 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การทดลองแบบกลุ่มกลาง (1:3) ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.08/82.22 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การทดลองแบบกลุ่มใหญ่ (1:5) ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.39/81.55 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้และผลการดำเนินการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรตามเกณฑ์ประสิทธิภาพกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.77/82.90 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษหลังเรียนด้วยหลักสูตรรายวิชา
เพิ่มเติม เรื่อง ASEAN Studies กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 สรุปว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง ASEAN Studies
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.62 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.48 และมีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีข้อเสนอแนะว่าเนื้อเรื่องค่อนข้างมากอยากให้เพิ่มภาพประกอบที่มีสีสันและจัดหน้าให้เนื้อหาต่อหน้าดูน้อยลง มีภาพที่เป็นสีสันเกี่ยวกับอาเซียน จะได้ดูผ่อนคลายขึ้น