การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสุวรรณคูหาพิทยาสรรค์ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 สุ่มมา 1 ห้องจำนวน 31 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีจำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ จำนวน 1 ฉบับ เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ จำนวน 30 ข้อ
4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ฉบับ 15 ข้อความ มีลักษณะเป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ , และ Dependent samples
t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 78.71/79.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
ค่าคะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้ของนักเรียนหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ มีคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน ก่อนเรียน อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6727 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.27
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 หมายความว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
จากผลการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องได้นำผลการวิจัยไปใช้ต่อไป ดังนี้ ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่จะนำผลการวิจัยไปใช้
1. ในการสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะ ครูผู้สอนต้องศึกษาหลักการ และเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลายให้เข้าใจอย่างชัดเจนเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบชุดฝึกเสริมทักษะให้เหมาะสมกับบริบทของนักเรียน เนื้อหาที่เรียน และมาตรฐานตัวชี้วัดตลอดจน การสร้างสื่อและการใช้แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งการออกแบบการวัดและประเมินผลผู้เรียนให้หลากหลายและครอบคลุมมาตรฐาน ตัวชี้วัด
2. ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนควรคำนึงถึงความหลากหลาย ความแตกต่างของนักเรียน (กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน) ความสอดคล้องกับตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ เนื้อหา และบริบทด้านนักเรียนและสภาพแวดล้อมด้วย เพื่อให้ได้กิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างแท้จริง
3. ในการปรับกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ นั้น ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของเนื้อหา รูปแบบกิจกรรมนักเรียน และเวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรม อีกทั้งกิจกรรมที่ปรับนั้นจะต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยเป็นสำคัญ
4. ควรมีการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ในแต่ละแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ที่ใช้ผ่านมาเพื่อนำประเด็นปัญหาที่ได้ไปปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ครั้งต่อไปอย่างจริงจังและทันท่วงที
5. ในการตรวจแบบฝึกทักษะ ผลงานหรือชิ้นงานในแต่ละครั้ง ครูผู้วิจัยนั้นควรที่จะให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และควรตรวจทันที เพราะจะได้ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนได้ทัน เพื่อจะนำข้อผิดพลาดไปแก้ไขงานแล้วนำกลับมาส่งใหม่ หรือเพื่อนำข้อบกพร่องไปเป็นข้อคิดในการพัฒนาชิ้นงาน/ผลงานของตนเองในงานชิ้นต่อไป