ด้านที่ ๓ ส่วนที่ ๒
รายานผลงานที่ประสบผลสำเร็จด้านการบริหารสถานศึกษา
ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒
------------------------------------------
๑. ข้อมูลผู้ขอรับการประเมิน
ชื่อ นายอารุณ นามสกุล ปังหลีเส็น
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านฉลองชัย ตำแหน่งเลขที่ 1390
สถานศึกษา/หน่วยงาน โรงเรียนบ้านฉลองชัย อำเภอ/เขต บันนังสตา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒
ส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รับเงินเดือนอันดับ คศ.๒ ขั้น 39,730 บาท
วิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน ชำนาญการพิเศษ
๒. การปฏิบัติงานในปีที่ขอรับการประเมิน (ระบุรายการที่ปฏิบัติจริง)
๒.๑ สายงานบริหารสถานศึกษาหน้าที่และความรับผิดชอบ
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านฉลองชัย ตำบลเขื่อนบางลาง
อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 2 ได้บริหารงาน 4 ฝ่ายประกอบด้วย ฝ่ายบริหารงานวิชาการ ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ ฝ่ายบริหารงานบุคคล ฝ่ายบริหารงานทั่วไป และงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยบริหารงานในรูปแบบการกระจายอำนาจให้บุคลากรมีส่วนร่วม และปฏิบัติหน้าที่ตามหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย มีหน้าที่ในการศึกษาปัญหาความต้องการ และการวางแผนการปฏิบัติงาน ควบคุม กำกับ ดูแลและติดตามประเมินผลในการบริหารแต่ละฝ่ายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2.2 หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษดังนี้
2.2.1 คณะกรรมการบริหารงานศูนย์เครือข่ายเขื่อนบางลาง ร่วมบริหารจัดการกิจกรรมต่าง ๆในศูนย์เครือข่าย เพื่อให้ดำเนินงานอย่างมีคุณภาพ และรับหน้าที่ฝ่ายบริหารงานทั่วไปศูนย์เครือข่าย
2.2.2 คณะกรรมการประสานงานวิชาการการจัดการศึกษาท้องถิ่นระดับองค์กรส่วนท้องถิ่นตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ทำหน้าที่เลขาคณะกรรมการระดับสถานศึกษา
3. การรายงานผลงานที่ประสบผลสำเร็จด้านการบริหารสถานศึกษา
เรื่องการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ pdca
ของโรงเรียนบ้านฉลองชัยปีการศึกษา 2560
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 2
3.1 ความเป็นมา
ในปัจจุบันกระแสยุคไทยแลนด์ 4.0 ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกแห่งการสื่อสารโทรคมนาคมและสภาวะทางสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ มีหลายประเทศได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบทางด้านการบริหารการจัดการศึกษาได้มีการเคลื่อนไหวในการนำแนวคิดในการบริหารสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและการกระจายอำนาจทั้งในด้านหลักสูตร งบประมาณและบุคลากรทางการศึกษามาใช้อย่างกว้างขวางขึ้น การปฏิรูประบบการศึกษาจึงเป็นวิถีทางและการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นคนดี มีความสามารถและความสุข การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องมีการกระจายอำนาจและให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาทั้งด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารงานทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารงานราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 รัฐจึงให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล เพื่อให้สถานศึกษามีความคล่องตัวมีอิสระและมีความเข้มแข็งโดยได้บัญญัติไว้ในมาตรา 35 สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตาม มาตรา 34 (2) เฉพาะที่เป็นโรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งให้มีการจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษาของไทยมีเอกภาพเชิงนโยบายและมีความหลากหลายในทางปฏิบัติมีการกระจายอำนาจไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
การกระจายอำนาจดังกล่าวจะทำให้สถานศึกษามีความคล่องตัว มีอิสระในการบริหารการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานและสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2545 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทสำคัญในการกำหนดให้รัฐบาลและสถานศึกษาดำเนินการหลายอย่างหลายเรื่อง ได้แก่ การจัดระบบการบริหารการศึกษาที่ต้องการกระจายอำนาจให้สถานศึกษาทั้ง ด้านบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและการด้านการบริหารงานทั่วไป ให้สังคมเข้ามีส่วนร่วมในการศึกษาให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสถาบันในสังคม สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยกระจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและที่สำคัญ ซึ่งเป็นภารกิจของสถานศึกษาก็คือหลัก ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ให้ถือว่าเป็นผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ตามมาตรา 29 มาตรา 41 มาตรา 24 ได้กำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของชาติได้มุ่งให้การจัด ระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของประเทศกระจายอำนาจไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษาและองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มาตรา 2 กำหนดไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญมากที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ และมาตรา 29 กำหนดว่าให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคลครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชนองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาสถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ๆ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ ภายในชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรมและรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการทางหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์พัฒนาระหว่างชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2542:6-2)
สำหรับประเทศไทยมีการจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 ซึ่งมีสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูประบบการบริหารการศึกษาเป็นอย่างมากและระบุไว้ในหมวดที่ 5 ว่าด้วยการบริหารและการจัดการศึกษาโดยเฉพาะในมาตรา 39 ได้กำหนดให้กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งใน ด้านงานวิชาการ ด้านงบประมาณบริหารงานบุคลากรและการบริหารงานทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานคณะกรรมการศาสนาและวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรงโดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎกระทรวง นอกจากนี้ในมาตรา 40 ยังกำหนดให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ของแต่ละสถานศึกษาทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา
จากนโยบายดังกล่าวสรุปได้ว่า การที่โรงเรียนจะสามารถใช้อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพในระดับที่น่าพอใจจะต้องให้ทุกส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ซึ่งจะเป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อทุกคนในสังคมและจะเป็นการจัดการศึกษาที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งมวล จากสภาพปัจจุบันโรงเรียนบ้านฉลองชัย ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 อำเภอบันนังสตา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2560 มีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 80 คุณครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาจำนวน 12 คน
จากการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาของผู้บริหารและบุคลากรโรงเรียน พบว่าสภาพปัญหามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเท่าที่ผ่านมาโดยภาพรวมสรุปได้ว่า ๑) ผู้ปกครองนักเรียนชุมชนขาดความเข้าใจและไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพราะคิดว่าการจัดการศึกษามีหน้าที่ของโรงเรียนผู้บริหารและครู ๒) ชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่นั้นผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ทำงานหารายได้ ขาดความเอาใจใส่บุตรหลาน ๓) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเอง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาระหน้าที่ของโรงเรียน ๔) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกับทางโรงเรียน จึงทำให้โรงเรียนต้องพัฒนาตนเองตามศักยภาพที่มีอยู่ส่งผลให้คุณภาพของนักเรียนไม่เท่าเทียมกับนักเรียนที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีความเจริญ ดังนั้นโรงเรียน ต้องมุ่งบริหารโรงเรียนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุดโดยนำความคิดการบริหารการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรโดยมีความเชื่อว่าพื้นฐานของการบริหารแบบมีส่วนร่วม คือ คุณภาพการศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ทำให้ผู้ปกครองและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายมีความเชื่อมั่นหรือพึงพอใจ จึงเป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารจะต้องเป็นผู้สร้างสรรค์คุณภาพให้เกิดขึ้นในองค์กรให้ได้ จากความเป็นมาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการบริหารแบบมีส่วนร่วมส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลเพราะการจัดการศึกษาต้องมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะชุมชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาทั้งด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคลและด้านการบริหารงานทั่วไป จึงจะบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีพลังและประสิทธิภาพ
3.2 วัตถุประสงค์
3.2.1 เพื่อการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ PDCA ของโรงเรียนบ้านฉลองชัย
3.2.2 เพื่อพัฒนาโรงเรียนบ้านฉลองชัยสู่โรงเรียนคุณภาพ
3.3 เป้าหมาย
3.4 วิธีการดำเนินการ
การพัฒนาการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการ PDCA ของ
โรงเรียนบ้านฉลองชัย มีวิธีการดำเนินงานดังนี้
โรงเรียนบ้านฉลองชัย แบ่งโครงสร้างการบริหารงาน 4 ด้านได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานทั่วไป ผู้บริหารยึดหลักการบริหาร เทคนิคการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยมีการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ และร่วมภาคภูมิใจ วงจรการทำงานแบบ PDCA ในทุกกิจกรรมของโรงเรียนจะมีการติดตามการประเมินการทำงานเป็นระยะ ๆ โดยผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ที่รับผิดชอบดำเนินการและรายงานผลที่เกี่ยวข้องทราบ