ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มหัศจรรย์พืชสมุนไพรใกล้ตัว
โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไสกุน
ผู้รายงาน นางสุติมา สุทธิกุล
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านไสกุน อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่รายงาน 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียนร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง มหัศจรรย์พืชสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไสกุน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง มหัศจรรย์พืชสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไสกุน 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง มหัศจรรย์พืชสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไสกุน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไสกุน อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2560 จำนวน 11 คน ดำเนินการทดลองโดยใช้เวลาในการทดลอง 20 ชั่วโมง ใช้การทดลองแบบ One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง มหัศจรรย์พืชสมุนไพรใกล้ตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.47 ถึง 0.51 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.47 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.77 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง มหัศจรรย์พืชสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไสกุน เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ เอกสารประกอบการเรียนร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง มหัศจรรย์พืชสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไสกุน จำนวน 7 เล่ม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (t-Dependent)
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียนร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง มหัศจรรย์พืชสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไสกุน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.86/82.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง มหัศจรรย์พืชสมุนไพรใกล้ตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง มหัศจรรย์พืชสมุนไพรใกล้ตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง มหัศจรรย์พืชสมุนไพรใกล้ตัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไสกุน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.53, s = 0.73)