เรื่องที่วิจัย : รายงานการสร้างและการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง
ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย : นางสาวทิพวรรณ แซ่ขอ
ปีการศึกษา : 2560
บทคัดย่อ
รายงานการสร้างและการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อหาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน(Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 ประชากร ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 จำนวน 8 ห้องเรียน ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2560 จำนวน 281 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 ค32102 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 จำนวน 1 ห้องเรียน ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 5 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 22 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากระหว่าง 0.43 ถึง 0.82 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.86 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 แบบสำรวจวัดปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการทำงานกลุ่ม 1 ฉบับ จำนวน 14 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ 1 ฉบับ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 18 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27 ถึง 0.75 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t - test แบบ Dependent samples ผลการศึกษาปรากฏว่า
1. ประสิทธิภาพการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม มีประสิทธิภาพในภาพรวม (E1/ E2) เป็น 81.75/82.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. ประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.54 หรือร้อยละ 54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ของค่าดัชนีประสิทธิผล คือ 0.50 หรือร้อยละ 50 ที่กำหนดไว้
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการทำงานกลุ่มในระดับดีมาก
5. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46
โดยสรุป ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยกัน (Learning Together : LT) เรื่อง ความน่าจะเป็น รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพช่วยให้นักเรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนมีความรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นสื่อนวัตกรรมที่ช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้เป็นอย่างดี