บทคัดย่อ
ชื่องานวิจัย รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้
ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ
เทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายประมุข อาจภักดี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านเกาะแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2560
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่ง
จากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นรูปแบบหนึ่งที่ช่วยพัฒนาให้นักเรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ คือมีความรู้ มีทักษะ/กระบวนการ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยมีจุดมุ่งหมายในการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อพัฒนา
แบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน
ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากใบตอง และกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่ง
จากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการใช้แบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 รูปแบบการดำเนินการวิจัยเป็นแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลังเรียน (one group pretestposttest design)ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเกาะแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 แผน (3) แบบทดสอบก่อนและ หลังเรียน สาระที่ 1 การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง และครอบครัว เรื่อง การประดิษฐ์
ของใช้ ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.40 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.30 ถึง 0.60 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (m) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้
ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 พบว่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (E1/E2) เท่ากับ 90.87/87.87 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน
3. การศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 พบว่า ดัชนีประสิทธิผล(Effectiveness index: E.I) เท่ากับ 0.7876 นั่นหมายความว่าแบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนก้าวหน้าร้อยละ 78.76
4. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการปฏิบัติงาน เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้ ของตกแต่งจากใบตองและกระดาษ กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลปรากฏว่ามีคะแนนเฉลี่ย 4.72 ซึ่งมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด