ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน ผ่องศิลป์ มิ่งยอด
สถานศึกษา โรงเรียนวัดโพธาราม อำเภอนาหม่อม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เชต1
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/802) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2560 โรงเรียนวัดโพธาราม อำเภอนาหม่อม จำนวน 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การ คูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ 1) ค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ฯ โดยการหาค่าร้อยละ 2) เปรียบเทียบ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการ ทดสอบค่าที (t-test แบบ Independent) และ 3) ค่าความพึงพอใจของนักเรียน โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยเฉลี่ยมีประสิทธิภาพ 90.33/93.47 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมระดับมาก เรียง ตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ด้านรูปแบบของแบบฝึกทักษะ และด้านกิจกรรมการเรียนรู้