ชื่อเรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น
รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ศึกษาค้นคว้า นางสาวเกียรติสุดา สุวรรณสน
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีที่ศึกษา 2560
สถานที่ศึกษา โรงเรียนหนองสวรรค์วิทยาคาร อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 ประชากรที่ใช้ ในการศึกษาค้นคว้าคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนหนองสวรรค์วิทยาคาร อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 67 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนหนองสวรรค์วิทยาคาร อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะ การฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 มีทั้งหมดจำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่มีความยากง่าย ตั้งแต่ 0.50 ถึง 0.77 และค่าอำนาจจำแนก มีค่าตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.60 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 จำนวน 15 ข้อ ที่มีอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.37 ถึง 0.64 และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจ ทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานการใช้ t-test (Dependent Samples Group) ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.32/81.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 มีค่าเท่ากับ 0.7580 หมายความว่า นักเรียน มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 คิดเป็นร้อยละ 75.80
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะ การฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 หมายความว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูด ภาษาญี่ปุ่น รายวิชา ภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 รหัสวิชา ญ20205 อยู่ในระดับมากที่สุด