ชื่อเรื่อง การวิจัยและประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
ผู้วิจัย นายเพยาว์ สายบุตร
โรงเรียน โรงเรียนบ้านคึม ตำบลกุดยาลวน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2
ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยและประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) ประกอบด้วยการประเมินด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านสภาวะแวดล้อม สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านปัจจัยนำเข้า สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านกระบวนการ สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านผลผลิต ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 4.1) สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียน 4.2 สำหรับนักเรียน และ 4.3) สำหรับผู้ปกครองนักเรียน 5) เพื่อเสนอแนะปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) นักเรียนจำนวน 46 คน และผู้ปกครอง จำนวน 46 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratify random sampling) ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน (Yamane) และกลุ่มตัวอย่างสำหรับการสนทนากลุ่ม (Focus group) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 12 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ใช้สอบถามความคิดเห็นผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้สอบถาม 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต จำนวน 65 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 0.72 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 ฉบับที่ 2 ใช้สอบถามความคิดเห็นของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ คือ ด้านผลผลิตสำหรับนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 และฉบับที่ 3 ใช้สอบถามความคิดเห็น ของผู้ปกครองนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ คือ ด้านผลผลิตสำหรับผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง
0.26 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านสภาวะแวดล้อม สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.55)
2. การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านปัจจัยนำเข้า สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.75)
3. การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านกระบวนการ สำหรับผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด ( =4.62, S.D. = 0.78)
4. การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ด้านผลผลิต สำหรับผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียน และสำหรับผู้ปกครองนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.66)
5. การเสนอแนะปัญหา อุปสรรค และแนวทางพัฒนาการดำเนินงานของโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคึม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 โรงเรียนมีการนำนโยบายเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสู่การปฏิบัติ มีการบริหารจัดการ การใช้หลักสูตร การบูรณาการการจัดกิจกรรม การนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล การนำผลการวิจัยและการประเมินไปใช้ แต่ทรัพยากรและบุคลากรไม่เพียงพอ งบประมาณมีน้อย ซึ่งแก้ปัญหาด้วยการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC: Professional Learning Community) การสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน การศึกษาดูงาน การยกย่อง เชิดชูเกียรติครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนที่มีผลการปฏิบัติดีเลิศ