ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย นางณัฐจีรา เตโพธิ์
โรงเรียนบ้านหนองสังข์ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานl(80/80) และมีค่าดัชนีประสิทธิผลที่ไม่ต่ำกว่าl0.50 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ
กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านหนองสังข์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จำนวน 20 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวในรูปแบบที่เรียกว่า One group Pretest-Posttest Design
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ จำนวน 15 ชุด ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.97/88.17 และได้ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.70 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ t-test
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.97/88.17 ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เท่ากับ 0.70 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือมีค่าเท่ากับ 80/80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลที่ไม่ ต่ำกว่า 0.50 สำหรับการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน.อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 หมายความว่า การเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น