การพัฒนาบทเรียนการ์ตูนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาบทเรียนการ์ตูน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนการ์ตูนกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระเศรษฐศาสตร์ 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนการ์ตูนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อบทเรียนการ์ตูนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระเศรษฐศาสตร์ ที่เรียนด้วยบทเรียนการ์ตูนกับนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนวัดกิ่งแก้ว(เทวะพัฒนาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 จำนวน 88 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 29 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลอง จัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียนการ์ตูนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และนักเรียนกลุ่มควบคุม จัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) บทเรียนการ์ตูน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อบทเรียนการ์ตูน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้ศึกษานำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติร้อยละ (%) ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t–test แบบ Independent
ผลการศึกษาพบว่า 1) บทเรียนการ์ตูน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.31/82.87 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้บทเรียนการ์ตูนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ค่าดัชนีประสิทธิผลบทเรียนการ์ตูน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.6193 หมายถึง นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.93 และ 4) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจต่อบทเรียนการ์ตูนวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59