ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านยางงาม
(ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน นายทนงศักดิ์ พอดี
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์)
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2560
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ตรวจสอบโครงการและพัฒนาโครงการด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตามลักษณะของโครงการ ที่ดี และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 31 คน ครูโรงเรียนบ้านยางงาม
(ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) จำนวน 4 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) จำนวน 30 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) โดยยกเว้นผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้แทนครู ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็น มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย (X-bar) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และหาค่าความเชื่อมั่น (alpha- Coefficient) ผลการประเมินสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู ประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-bar= 4.53, S.D. = .55) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.24, S.D. = .49) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียน บ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) โครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียน บ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู ประเมินด้านกระบวนการ (Process) มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.46, S.D. = .54) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและ ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ นักเรียน ประเมินด้านกระบวนการ (Process) มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.29, S.D. = .59) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด (X-bar = 4.24, S.D. = .62) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ด้านผลผลิต (Product) ในการดำเนินโครงการ
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก 3 มาตรฐาน ของโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู ประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.55, S.D. = .54) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็น ตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ผู้ปกครอง ประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.34,
S.D. = .55) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด (X-bar = 4.28, S.D. = .45) ผ่านเกณฑ์ ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและ ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar = 4.63, S.D. = .52) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก (X-bar = 4.44, S.D. = .57) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด (X-bar = 4.33, S.D. = .48) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 จากผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู ประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและ ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเมินด้าน สภาพแวดล้อม (Context) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็น ตัวชี้วัดที่ประเมิน ดังนั้น โรงเรียนต้องให้ความสำคัญของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และวาง กฎเกณฑ์ความปลอดภัยทั้งจากอุบัติเหตุและภัยบุคคล ตลอดจนนำนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน สอบถามความต้องการและความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมกันประชุมและวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ให้ทุกฝ่ายเข้ามา มีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ และความเป็นไปได้ของโครงการทุกขั้นตอน
1.2 จากผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ดังนั้น โรงเรียนควรมีการบริหารจัดการให้เป็นที่ยอมรับของครูภายในโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เกี่ยวข้อง โดยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม สามารถแสวงหาความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการดำเนินโครงการได้เป็นอย่างดี และควรมีการระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ให้เพียงพอต่อการดำเนินงานโครงการ สามารถจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร ที่ใช้ในการดำเนินโครงการและปรับปรุงสภาพแวดล้อม อาคารสถานที่ให้มีความเหมาะสมเพียงพอ และควรส่งเสริมให้ครู บุคลากรได้รับการอบรมพัฒนาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ เจตคติที่ดีต่อการดำเนินโครงการ
1.3 จากผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) โครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู ประเมินด้านกระบวนการ (Process) มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ นักเรียน ประเมินด้านกระบวนการ (Process) มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม ต่ำสุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ดังนั้น โรงเรียนควรศึกษาสภาพปัญหาความต้องการในการคุ้มครองเด็ก โดยจัดการประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและร่วมกัน วางแผนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบเหมาะสม ตรงตามความรู้ความสามารถของบุคลากรและให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้รับผิดชอบโครงการอย่างสม่ำเสมอ กำหนดปฏิทินการดำเนินโครงการ แหล่งงบประมาณ รวมทั้งประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ตลอดจนกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและร่วมกันกำหนดแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาโครงการให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า
1.4.1 จากผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก 3 มาตรฐาน ของโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียน บ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู ประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ผู้ปกครอง ประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็ก มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ผ่านเกณฑ์ ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ดังนั้น โรงเรียนควรมีการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและบุคคล ทั้งระดับนโยบาย ระดับประสานงาน และระดับปฏิบัติ ประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงาน การกำกับดูแลติดตามและประเมินผลความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมและบุคคล มอบหมายให้ครูดำเนินการจัดเก็บข้อมูลและประเมินนักเรียนรายบุคคลตามมาตรฐานโรงเรียนคุ้มครองเด็กในประเด็นด้านสุขภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านสังคม สติปัญญา และปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้นักเรียนไม่ปลอดภัย โดยมีการทำงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายในการช่วยเหลือและการคุ้มครองนักเรียน ตลอดจนเชิญวิทยากรให้ความรู้เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในเรื่องความปลอดภัยแก่นักเรียน
1.4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) เกี่ยวกับความพึงพอใจในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุ้มครองเด็ก โรงเรียนบ้านยางงาม (ศุภรธรรมนิวิฏฐ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ปีการศึกษา 2560 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและ ทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็น ตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ดังนั้น โรงเรียนควรใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนโครงการ การมี ส่วนร่วมทำให้ผลการปฏิบัติงานดีขึ้น การตัดสินใจมีคุณภาพมากขึ้น ตลอดจนผู้ร่วมงานมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น โดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการวางแผน ร่วมดำเนินกิจกรรม ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์จากการดำเนินงาน และการสรุปผลการดำเนินงาน โรงเรียนต้องรายงานผลให้ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบอย่างต่อเนื่อง จะทำให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิผล บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
2. ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล
(CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2.2 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อ สภาพการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองเด็ก
2.3 ควรมีการประเมินโครงการที่เน้นเฉพาะผลผลิตในด้านการประเมินประสิทธิผลของโครงการ และการประเมินผลกระทบของโครงการ เพื่อนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาโครงการต่อไป