ชื่องานวิจัย การสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model
ชื่อผู้วิจัย นางศิรินันท์ เหลืองอภิรมย์
หน่วยงาน วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model ในรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (รหัสวิชา 3204-2003) และในรายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (รหัสวิชา 3204-2105) 2) หาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model ในรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (รหัสวิชา 3204-2003) และในรายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (รหัสวิชา 3204-2105) 3) เปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยปลายภาคเรียนของนักเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มอ่อนกับนักเรียนกลุ่มเก่ง ในขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model ในรายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (รหัสวิชา 3204-2105) แบบภาคสนาม 4) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยปลายภาคเรียนของนักเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มอ่อนกับนักเรียนกลุ่มเก่ง ในขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model ในรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (รหัสวิชา 3204-2003) แบบภาคสนาม 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model ในรายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (รหัสวิชา 3204-2105) และในรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (รหัสวิชา 3204-2003) 6) ศึกษาผลการประเมินรับรองคุณภาพ ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model กลุ่มเป้าหมาย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เป็น นักเรียนระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง ชั้นปีที่ 1 กลุ่มที่ 7 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินพฤติกรรม แบบสอบถามความพึงพอใจแบบประเมินรับรองคุณภาพ ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model ในรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (รหัสวิชา 3204-2003) และในรายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (รหัสวิชา 3204-2105) โดยใช้ CIPPAP Model 8 ขั้นตอนกับการใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และเป็นผู้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองและนักเรียนกลุ่มเก่งได้ทำหน้าที่ผู้สอนอย่างต่อเนื่อง 2) หาประสิทธิภาพ (E1/E2) รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model ในรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (รหัสวิชา 3204-2003) เท่ากับ 80.17/80.00 และในรายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (รหัสวิชา 3204-2105) เท่ากับ 82.75/80.00 3) เปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยปลายภาคเรียนของนักเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มอ่อนกับนักเรียนกลุ่มเก่ง ในขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model ในรายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (รหัสวิชา 3204-2105) แบบภาคสนาม พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยปลายภาคเรียนของนักเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มอ่อนกับนักเรียนกลุ่มเก่ง ในขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model ในรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (รหัสวิชา 3204-2003) แบบภาคสนาม พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model ในรายวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (รหัสวิชา 3204-2105) และในรายวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย (รหัสวิชา 3204-2003) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 6) ศึกษาผลการประเมินรับรองคุณภาพ ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ของรูปแบบเรียนการสอนแบบ CIPPAP Model พบว่า ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ =4.76, SD.=0.43)
คำสำคัญ: รูปแบบการสอนโดยเพื่อนช่วยสอน/ รูปแบบการสอนแบบ CIPPAP Model
Thesie title: The Construction and Efficiency of the Instructional Model By Using CIPPAP Model
Researcher: SirinunLaungapirom
Department: Nakhonratchasima Technical College
Year: 2017
Abstract
The purposes of this research were to 1) construct the efficiency of the instructional model on Data Communication and Networking (Code 3204-2003) and Information and Management (Code 3204-215) by using CIPPAP Model. 2) find the efficiency of the instructional model on Data Communication and networking (Code 3204-2003) and Information and Management (Code 3204-215) 3)compare the final average score between competitive students and non competitive students on Information and Management (Code 3200-2105) by field trial 4) compare the final average score between competitive students and non competitive students on Data Communication and Networking (Code 3204-2003) by field trial 5)study the satisfaction of students towards learning by using CIPPAP Model on Data Communication and Networking (Code 3204-2003) and Information and Management (Code 3204-215) 6) study the result of quality assessment, possibility, and usefulness of CIPPAP Model by simple sampling. The samples were taken from the first - year High Vocational Certificate students (Group 7), majoring in Business Computer at Nakhonratchasima Technical College. The instruments used in this research were the instructional model by using CIPPAP Model, lesson plans, ability test, behavior assessment, satisfaction questionnaire, quality assessment, possibility and usefulness. The data were analyzed by using mean, standard deviation and t-test.
The findings of the study were as follows. 1) The construction of the instructional model by using 8-step process of CIPPAP Model with action research on Data Communication and networking (Code 3204-2003) and Information and Management (Code 3204-215) showed that the students participated in learning and doing activities by themselves and competitive students served as instructors. 2) The efficiency (E1/E2) of the instructional model by using CIPPAP Model on Communication and Networking (Code 3204-2003) was 80.17/80.00 and Information and Management (Code 3204-215) was 82.75/80.00. 3) The final average score between competitive students and non competitive students on Information and Management (Code 3200-2105) by field trial was no significant difference at 0.5 level. 4) The final average score between competitive students and non competitivestudents on Data Communication and Networking (Code 3204-2003) by field trial was no significant difference at 0.5 level. 5) The satisfaction of students towards learning by using CIPPAP Model on Data Communication and Networking (Code 3204-2003) and Information and Management (Code 3204-215) was the highest level. 6) The result of quality assessment, possibility, and usefulness of CIPPAP Model were at the highest level ( x̄ = 4.76, SD. = 0.43)
Keywords:Peer Tutoring/ CIPPAP Model