เรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวสมัย พรมชัย
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนวัดเขาทราย
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การรายงานผลการศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ
มาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ มาตราตัวสะกดไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำมาตรา ตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดเขาทราย สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ที่ศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง รูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่ม สอบก่อน-สอบหลัง (One group Pretest Posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าเฉลี่ยร้อยละและการหาค่าสถิติ t-test for dependent ผลการศึกษาพบว่า
1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ มาตราตัวสะกดไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้ง 9 เล่ม ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.36/85.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ มาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำ มาตรา
ตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความ พึงพอใจ อยู่ในระดับ มากที่สุด