บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียน
การสอน STEAM Education เพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะด้านชีวิตและอาชีพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 23 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านผักตบประชานุกูล เครื่องมีที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอน STEAM Education เพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานและแบบสอบถามความ
พึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียกการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียนว่า ILSACE Model โดยมีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และทักษะชีวิตและอาชีพ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างแรงบันดาลใจและเตรียมความพร้อมในการเรียน (Inspiration: I) 2) ขั้นเรียนรู้ STEAM Education (Learning STEAM
Education :L) 3) ขั้นจัดระบบระเบียบความรู้และทักษะ (System and Organizing :S) 4) ขั้น
* ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านผักตบประชานุกูล อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สพป.อุดรธานี เขต 3
ประยุกต์ใช้ทักษะชีวิตและอาชีพ (Applying Life and Career Skills :A) 5) ขั้นสรุป (Conclusion : C) และ 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.03/81.31 เมื่อเทียบกับเกณฑ์80/80 ปรากฏว่ามีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้
2. ทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 1หลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน STEAM Education เพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงก่อนเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน STEAM Education เพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจด้านกิจกรรมการเรียนการสอนสูงที่สุด เพราะนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีปฏิสัมพันธ์อยู่และแสวงหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย และมีความภาคภูมิใจที่สามารถผลิตผลงานขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้
คำสำคัญ : รูปแบบการเรียนการสอน, สะตีมศึกษา, ทักษะชีวิตและอาชีพ
Abstract
The purposes of this research were to : 1) develop and verify the efficiency of Instructional Model STEAM Education for The Enhancement of 21st Century Living and Skills for Mathayomsuksa 1 2) compare 21st Century Living and Skills in life skills and career aspect and Learning Achievement of Mathayomsuksa 1 before and after being tough by Instructional model STEAM Education for The Enhancement of 21st Century Living and Skills and 3) investigate satisfaction of Mathayomsuksa 1
toward the Instructional Model. The target group were students of Mathayomsuksa 1
at Banphaktobprachanukul school in 1st semester of academic year 2017. The instrument employed were ILSACE Instructional Model, lesson plans, achievement test, life skills and career test, performance test and questionnaire. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and content analysis.
The results of the study were as follows :
1. The instructional model was called ILSACE Model. The Model consisted of principle, objective, syntax (Instructional Procedures), strand of knowledge and life skills and career, nurturant effects, social system, principle of reaction and support system. There were 6 steps of syntax as follows : 1) Inspiration: I 2) Learning STEAM Education : L 3) System and Organizing : S 4) Applying Life and Career Skills : A 5)
Conclusion : C and 6) Evaluation : E. The efficiency of instructional STEAM Education Model for the Enhancement of 21st Century Living and Skills for Mathayomsuksa 1
achieved the criterion of 82.03/81.31, which was higher than the required standard criterion of 80/80.
2. 21st Century Living and Skills in life skills and career aspect and Learning Achievement of Mathayomsuksa 1 after being taught by the instrument model was higher than before.
3. The satisfaction of the Mathayomsuksa 1 toward the ILSACE model for the enhancement of 21st century living and skills was at the highest level of satisfaction,
because the students interacted, performed by self and searched information from variety of sources and proud to be productive to use.
Keywords : Instructional Model, STEAM Education, life skills and career