บทคัดย่อ
รายงานผลการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบ การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาครูโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้าง และพัฒนาแบบทดสอบการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน และเพื่อพัฒนาแบบทดสอบความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำนวน 30 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1
จำนวน 10 โรงเรียน 870 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการอบรม คือ เอกสารชุดฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการการสร้าง และพัฒนาแบบทดสอบ การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจของครูผู้สอน ก่อนและหลัง การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อกิจกรรมการฝึกอบรม
เชิงปฏิบัติการ 3) แบบทดสอบความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ชนิดความเรียง (Essay Test) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 ฉบับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเที่ยง (Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbachs Alpha coefficient) และสัมประสิทธิ์แคบปา (Kappa Coefficient)
และความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)
ผลจากการศึกษา พบว่า ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนหลังจากได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้าง และพัฒนาแบบทดสอบการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนโดยมีคะแนนเฉลี่ย หลังการอบรมสูงกว่า ก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และแบบทดสอบการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่สร้างขึ้น
มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป มีค่าความยากง่าย (p) 0.20 0.80 มีค่าอำนาจจำแนก (r) สูงกว่า 0.02 และค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องระหว่างผู้ตรวจ (RAI) 0.63 0.90 ทุกข้อ